แนวทางการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) หาแนวทางการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่, และมอร์แกน (Krejcie, & Morgan, 1970: 607-610) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินแนวทางการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ความต้องการในการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความต้องการสูงที่สุดคือ การพูด รองลงมาคือ การฟัง การอ่านและการเขียน ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการ ดังนี้ ด้านการฟังพัฒนาโดยการฟังจากข่าวสารและรายการที่เผยแพร่ออนไลน์ ด้านการพูดพัฒนาโดยสนทนากับชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ด้านการอ่านพัฒนาโดยใช้เทคนิคการอ่านเร็ว ๆ และอ่านหาคำสำคัญ ด้านการเขียนพัฒนาโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ วางโครงเรื่อง 3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการฟัง ด้านการพูด ด้านการอ่าน และด้านการเขียน โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพงษ์ พูลสวัสดิ์. (2560). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณฐพร มูลอำคา. (2560). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวียาสาส์น.
วรรษิดา อ่อนสี. (2564, ตุลาคม 27). นักทรัพยากรบุคคล. สัมภาษณ์.
วันวิสา วิเชียรรัตน์ (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ศักรินทร์ ศิรินัย. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุภัสสร จันทรังษ์. (2561). ความต้องการจําเป็นและแนวทางการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (2564). แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา NITES 2021 SAWAN3. นครสวรรค์: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). การลดระยะเวลาตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะของผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
อัมพร พินะสา. (2564). นโยบายการยกระดับภาษาอังกฤษเพื่อขอมีวิทยฐานะและขอเลื่อนวิทยฐานะ. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564, จาก https://www.thaipost.net/main/detail.
เอกพจน์ สิงห์คำ (2562). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cornbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607 - 610.