การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รายวิชาคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณและจิตวิญญาณ ความเป็นครูสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินและพัฒนาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนำไปใช้ประกอบ การเรียนการสอน 2) ประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน และ 3) ประเมินและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบ การเรียนรายวิชาคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครูกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่เรียนรายวิชาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลขั้นประเมินและพัฒนาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ใช้เทคนิค การสังเกตและการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน ขั้นประเมินและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการเรียน การสอนใช้แบบสอบถามเชิงประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิค โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบใช้สถิติทีเทส (T-Test) ผลการวิจัยพบว่า
1) ก่อนนำไปใช้จัดการเรียนการสอน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพโดยรวมในระดับปานกลาง ส่วนรายด้านก็อยู่ในระดับปานกลางทั้งด้านโครงสร้างและด้านองค์ประกอบ ซึ่งหลังการประเมินได้พัฒนาคุณภาพของหนังสือ โดยเพิ่มภาพเคลื่อนไหว ปรับการเชื่อมโยงระหว่างจุดต่าง ๆ และปรับปกหลังให้เหมาะสมกลมกลืนกัน รวมทั้ง เพิ่มเสียงดนตรีที่ช่วยให้บทเรียนมีชีวิตชีวาและน่าสนใจยิ่งขึ้น 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการสอน มีค่าประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ร้อยละ 95.41 : 96.12 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพร้อยละ 80 : 80 ที่กำหนดตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) นักศึกษาพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนการสอนในระดับสูงที่สุด โดยนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงพึงพอใจต่อการใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ไกรพ เจริญโสภา. (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) วิชาการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คณะกรรมการจัดทำหนังสือประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา. (2540). ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เจษฎา ถาวรนุวงศ์. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับการสอนด้วยวิธีปกติ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. ภูเก็ต: วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต.
ทัศนากร สมใจหวัง. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่อง ความรู้ สู่อาเซียน สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศมหาวิทยาลัยราชัฏหมู่บ้านจอมบึง เรื่อง ทุนอุดหนุนการวิจัย โครงการ 1 อาจารย์ 1 งานวิจัย พัฒนาการเรียนการสอน งบประมาณประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564.
พรชนก สวนบุรี. (2556). โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิเชษฐ เพียรเจริญ. (2546). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องสื่อการสอน. ปัตตานี: สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
มงคล ศรีวิชัย. (ป.ป.ป.). รู้จักเอกสาร มคอ. สงขลา: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
วรพร สุนทรวัฒนศิริ. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : สำนวนการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสี่อสารธุรกิจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศิรวัฒน์ สิงหโอภาส, กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี, และวัลยา ธรรมภิบาล อินทนิน. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2558 (ระดับหลักสูตร).กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐาน และคุณภาพอุดมศึกษา. No.2 May-August 2021/395.
สุชิน โรจน์ประเสริฐ. (2552). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องเทคนิคการถ่ายภาพโฆษณา : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Bloom, B. S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook 1 : Cognitive Domain. New York: David Mckay.
Chaplin, E. (1994). Sociology and Visual Representation. On Amazon.com.
Cobuild, C. (1987). Dictionary English Language. London: William Collins Sons and Co.,Ltd.
Hamdideh, S., & Hamdan-Mansour, A. (2013).
Krutus. (2000). E-Learning. (online). Retrieved 11 April 2007, From http://www.nectec.or.th/courseware/cai/0018.html.
Ohnmar Aung. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องพยัญชนะและสระภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเมียนมาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยต่างประเทศย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Shelly, M. W. (1975). Responding to Social Change. Pennsylvania: Dowden Huntchisam Press.
Wallestein, H. A. (1971). Dictionary of Psychology. New York: Pemguin Booke.