แนวทางพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

รามินทร์ มูลไธสง
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานประกันคุณภาพภายใน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากร สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 113 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Kregcie, & Morgan, 1970, pp. 609-610) ผู้ทรงคุณวุฒิในการหาแนวทางการพัฒนาจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับที่ 0.990 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ การทดสอบความแตกต่างค่าที (t-test) การทดสอบค่าความแปรปรวน (F-test) ความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า


            1) สภาพการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ ส่วนใหญ่สถานศึกษาขาดการวางแผนและบุคลาการขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน และการเผยแพร่ผลการประเมินตนเองต่อสาธารณชนยังไม่หลากหลาย 3) ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่าไม่แตกต่าง และจำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความแตกต่างระหว่างสถานศึกษาขนาดกลางกับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และสถานศึกษาขนาดใหญ่กับสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีสภาพการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ .001 และ .004 ตามลำดับ  4) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ คือ พัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจ อบรมให้ความรู้ ความตระหนัก ในการนิเทศ ติดตาม สถานศึกษาควรใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงานตามเป้าหมายร่วมกัน และจัดให้มีการประชุมจัดทำเครื่องมือนิเทศที่มีความหลากหลาย ทันสมัย นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการนิเทศติดตาม และเผยแพร่ผลการประเมินตนเองต่อสาธารณชนด้วยช่องทางที่หลากหลาย

Article Details

How to Cite
มูลไธสง ร. ., & รักพรมงคล ภ. . (2024). แนวทางพัฒนาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสู่ความเป็นเลิศ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 238–250. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.267903
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จรัส อติวิทยาภรณ์, และภารดี อนันต์นาวี. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: ศิลป์โฆษณา.

ฉัตรชัย สิงห์สถิติ. (2559). การศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชุษณะ พูลสมบัติ. (2565). ปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โชคธวีร์ อ้นถาวร. (2561). รูปแบบบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศของตำบลเขาดินอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเพื่อการพัฒนา). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ทิพวรรณ์ อ่วมทอง. (2564) แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนู นวลเป้า. (2557). แนวคิดการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา : ความสำเร็จหรือความล้มเหลว. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2562). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2562. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารทางวิชาการ ลำดับที่ 2/2563.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). หลักการทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหารศึกษา. เอกสารประกอบการสอนวิชา1065201U ทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหารศึกษา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มูฮำมัดอนูวาร์ สะอะ. (2557). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรีนเองชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานกรศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวา 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วีระ บัวผัน. (2563). รูปแบบการพัฒนาวัฒนาธรรมองค์กรการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เสกสรร ปิวศิลป์ศักดิ์. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2564). คู่มือการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัดสำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. เอกสารวิชาการลำดับที่ 20/2556. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: รังษีการพิมพ์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ:เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

Krejcie, R. V., & Mogan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.