การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษา

Main Article Content

ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน และคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษา และ 2) นำเสนอผลการสังเคราะห์รูปแบบการวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษาด้วยวิธีชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานโดยมีจำนวนบทความที่นำมาสังเคราะห์จำนวน 10 บทความ ผลการวิจัยพบว่า          มีบทความวิจัยที่เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษาที่ปรากฎในระบบฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ระยะเวลา 6 ปี จำนวน 10 บทความ บทความส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area Based Learning) หรือชุมชนเป็นฐานของการจัดการศึกษา (Community Based Learning) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ สมรรถนะของความเป็นพลเมืองในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการความรู้ในท้องถิ่น ด้านการคิดเชิงออกแบบ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดแบบองค์รวม  ด้านการคิดเชิงพื้นที่ และสมรรถนะของการเป็นผู้ประกอบการ ที่มีข้อค้นพบจากการอุปมาว่า “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จะทำให้เกิดการพัฒนาความตระหนักและจิตสำนึกต่อท้องถิ่นกับผู้เรียน นอกจากนี้ยังอุปมาจากการสังเคราะห์การวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษาด้วยวิธีชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน ว่า ครูผู้สอนสังคมศึกษาควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

Article Details

How to Cite
วรพันธ์ ป. (2024). การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 72–84. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.226770
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยทางมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2550). เส้นทางวิชาชีพของครูผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ: การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2561ก). การวิจัยทางสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

_______. (2561ข). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2564). สังคมศึกษา: ยุคมาตรฐานกำกับ. กรุงเทพฯ: โรจนพริ้นท์ติ้ง.

ประยูร วงศ์จันทรา. (2555). วิทยาการสิ่งแวดล้อม. มหาสารคาม: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรนภิส สุดโต, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, และวิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2563). การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6(1): 19 - 35.

เยาวภา ประคองศิลป์. (ม.ป.ป.). ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม : แนวทางการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาในปัจจุบันและอนาคต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_______. (2549). ความจำเป็นของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน. ในเอกสารประกอบการเสวนาวิชาการทางการศึกษา เรื่องจำเป็นจริงหรือกับการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน. (มปท). ถ่ายเอกสาร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยและการประเมินเชิงผสมผสานวิธี. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 22(3): 269 - 288.

_______. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 21 – 34.

วิภาพรรณ พินลา. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรูวิชาสังคมศึกษาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(2): 7 - 16.

เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ, ลัดดา ศิลาน้อย, และประกฤติยา ทักษิโณ. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ของนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างพุทธศักราช 2542 - 2553 ด้วยเรื่องการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1): 124 - 136.

อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง.

Becker, G. S. (1991). A Treatise on the Family. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Campbell, R., Pound, P., Pope, C., Britten, N., Pill, R., Morgan, M., & Donovan, J. (2003). Evaluating meta-ethnography: a synthesis of qualitative research on lay experiences of diabetes and diabetes care. Social Science & Medicine. 56(4): 671 - 684.

Hess, E. K. (2000). Identification of the Facilitators of and the Barriers to the Collaboration Process in PDSs: A Meta-ethnography 1990 – 1998. (Dissertation). The George Washington University.

Kochhar, S. K. (1984). The Teaching of social studies. New Delhi: Sterling Publishers Private.

Moustakas, C. (1990). Heuristic research: Design, methodology, and applications. London: SAGE Publications.

Noblit, G. W., & Hare, R. D. (1988). Meta–Ethnography: Synthesizing Qualitative Studies. Newbury Park: SAGE Publications.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods. (2nd ed.). Newbury Park: SAGE Publications.

Shulman, L. S. (1987). Knowledge and teaching: Foundations of the new reform. Harvard Educational Review. 57(1): 1 - 22.

Urquhart, C. (2013). Grounded theory for qualitative research: A practical guide. Thousand Oaks, California: Sage.

Yeager, E. A. (2000). Thoughts on wise practice in the teaching of social studies. Social Education. 64(6): 352 - 353.