แนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนอำเภอท่าตะโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูจำนวน 159 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่, และมอร์แกน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครูในอำเภอท่าตะโก มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 มีค่าความเที่ยง 0.980 การวิเคราะข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการบริหาร การจัดการเรียนการสอนของครู การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางจำนวน 7 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3)ประเมินแนวทางด้วยผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินแนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครูในอำเภอท่าตะโก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ปัจจัยด้านผู้สอนอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านบทเรียนมีปัญหาอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการจัดการแนวทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครู โดยด้านผู้สอนมีการจัดทำแผน การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ด้านผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านการเรียนรู้แบบวิถีใหม่ได้ อย่างถูกต้อง ด้านบทเรียนมีความสอดคล้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้านเทคโนโลยีมีสื่อการสอนมีรูปแบบที่หลากหลายรูปแบบทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ และ 3) การประเมินแนวทางทางการบริหารการจัดการเรียนการสอนของครูทั้ง 4 ด้าน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณ์รายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บังอร ศรีตะพัสโส. (2556). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
พชร ลิ่มรัตนมงคล, และจิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. วารสารรังสิตสารสนเทศ. 19(2): 54 - 63.
พีรพัฒน์ ใจแก้วมา. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรกติใหม่ของประชาชนชาวไทยระหว่างวิกฤตโควิด-19 ที่ปรากฏในสื่อออนไลน์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัตนา หลวงกลาง. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลินดา ชุมภูศรี. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย.
วรกฤต เถื่อนช้าง, พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, และพระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต). (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด 19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2): 143 - 154.
วิชิต วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(1): 353 - 360.
สถิตย์ เทศาราช, และคนอื่น ๆ. (2563, พฤษภาคม 29). การศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนางานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด อุบลราชธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)”. (หน้า 411 - 427). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2563 - 2565). นครสวรรค์: ผู้แต่ง.
อรุณี ทองนพคุณ. (2558). การศึกษาบทบาทการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Best, John W. (1981). Research in Education. (3rded). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall.