การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 113 คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 11 คน ครู จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการ ฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียน จำนวน 92 คน จากการเปิดตารางเครจซี่, และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการ ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.992 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ มีผู้ทรงคุณวุฒิในการหาแนวทาง การพัฒนาโครงการ จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
ผลการประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการของโครงการ รองลงมา ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการตามลำดับ แนวทางพัฒนาโครงการตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า สถานศึกษาควรจัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ แก่ครู และวิทยากรเป็นประจำทุกปีก่อนดำเนินโครงการ 2) ด้านกระบวนการ ผู้บริหารควรประชุมครูและบุคลากรในการวางแผนและการบริหารจัดการ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินโครงการ 3) ด้านผลผลิต สถานศึกษาควรจัดทำแบบสำรวจความต้องการเรียนจากประชาชนในพื้นที่ โดยครูสำรวจความพร้อมของผู้เรียนและนำข้อมูลมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรเพื่อให้สอดคล้องกับความพร้อมและความต้องการของผู้เรียนอย่างสูงสุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กุสุมา กรองทิพย์, และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 5(10): 1 - 13.
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (การวัดผลและประเมินผลการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประภัสสร วงษ์ดี, และคณะ. (2554). การประเมินโครงการตามแนวของ CIPEIST Model. วารสารครุสาร มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา. 3(1): 84 - 90.
ปิยมาศ ฉายชูวงษ์. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนบ้านประดู่งาม สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
มินา เนียมนคร, และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). การประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. วารสาร ครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 5(10): 46 - 59.
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). หลักการทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. กำแพงเพชร: เกรียงไกรพาณิชย์.
ยุพิน รอดประพันธ์. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนวัดห้วยธารทหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.ska2.go.th/ reis/data/research/25640617_155221_0130.pdf.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกำแพงเพชร. (2555). ประวัติศูนย์การเรียนรู้จังหวัดกำแพงเพชร. ประวัติความเป็นมาของสำนักงาน กศน.จังหวัดกำแพงเพชร.
_______. (2561). แนวทางการดำเนินงาน การจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). สรุปผลการรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กำแพงเพชร: กู๊ดริช.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.
สุพักตร์ พิบูลย์. (2551). กลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร. นนทบุรี: จตุพรดีไซด์.
สุมาลัย บุญรักษา, และญาณภัทร สีหะมงคล. (2562). การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อำนาจ บุญทรง. (2559). กลยุทธ์การสนับสนุนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
Alkin, M. C. (1969). Evaluation Theory Development. New York: Russail Sage Foundation.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and psychological Measurement. 30(3): 607 - 610.
Scriven, M. (1967). The Methodology of Evaluation. Chicago: Rand McNally.