การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดลพบุรี จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 291 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.950 การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D. = 0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมในงานวิชาการสูงสุดคือ ด้านการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D. = 0.49) รองลงมาด้านการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.48) และด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมต่ำสุด คือด้านการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก ( = 4.01, S.D. = 0.41) 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดลพบุรี จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ด้านรับผลประโยชน์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ผู้บริหาร และครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท มีระดับความเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการ มากกว่า ผู้บริหาร และครูที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกรัตน์ ทาจะดี. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหาการศึกษา). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กฤตกา พูลสุวรรณ. (2559). การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จันทรานี สงวนนาม. (2561). การมีส่วนร่วมของการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครู ภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชินวัจน์ งามวรรณากร (2562). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ซูฮายมี สาแล. (2561). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ณปภัช รุ่งโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). คู่มือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านกฎระเบียบกฎหมาย และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู.
ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2563). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2562). การศึกษาความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ธัญดา ยายศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิยาลัยราชภัฏยะลา.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
เภารัมย์ภา อาสา. (2560). การศึกษารูปแบบดุลยภาพการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ประพันธ์ เกียรติเผ่า. (2559). การศึกษาการใช้สื่อการสอนอิเล็คทรอนิคผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2561). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอธารโต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในอำเภอบางบัวทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัตนาภรณ์ บำรุงวงศ์. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 และ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งนภา แซ่ส้อ. (2562). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. ยะลา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
รุสนานี ลอเซ็ง. (2556). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนอำเภอบาเจาะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สมบัวคำ ชุมจันทร์. (2563). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุมา สามเพชรเจริญ. (2561). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุริยะ ทรัพย์สิน. (2559). การศึกษาการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครู สังกัดศูนย์เครือข่ายสองพี่น้อง ห้วยแม่เพรียง ป่าเด็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. (2565). ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and psychological Measurement. 30(3): 607 - 610.