แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล 2) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 316 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาของผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับปัญหาสูงสุด คือ การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม การคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรมและค่านิยมเอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายและสายสัมพันธ์ และการมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลงมุ่งสู่นวัตกรรม ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน มองเห็นภาพอนาคต มีวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ทันสมัยสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ตื่นตัวอยู่เสมอต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน 3) การประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพ: ผู้แต่ง.
จุรีวรรณ จันพลา. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(1): 53-60.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ, และพระครูปลัดพงศ์พันธ์ ขนฺติโสภโณ. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมการบริหารกิจการ คณะสงฆ์ในทศวรรษหน้า. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4(2): 313-325.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, และคณะ. (2562). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑาทิพย์ เสยยงคะ. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารจัดการการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วิทยากร ยาสิงห์ทอง, และกนกอร สมปราชญ์. (2560, กรกฎาคม-กันยายน). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(3): 234-244.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก http://122.154.179.4/nsw01/images/pic/pdf/351.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 385/2559 ให้นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่ว ประเทศ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html.
สุภัทรศักดิ์ คำสมารถ, ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี, และโกวิท จันทะปะละ. (2563, พฤษภาคม-มิถุนายน). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development. 15(3): 245-259.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู โรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (นโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไอรินทร์ ดอนแหยม. (2556). การศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
Adair, John E. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of the Competition. London: Pan Books.
Adjei, D. (2013, June). Innovation Leadership Management. International Journal of ICT and Management. 1(2): 103-106.
Pagaura, A. R. (2020, March-April). Innovative Leadership Attributes of School Administrators in the Philippines: Implications for Educational Management. Interdisciplinary Research Review. 15(2): 1-7.
Quinn, R., & Spreitzer, G. (1991). The Psychometric of the Competing Values Culture Instrument and an Analysis of the Impact of Organizational Culture on Quality of Life. In: Woodman, R.W. and Pasmore, W.A., Eds., Research in Organizational Change and Development. 5, JAI Press, Greenwich: 115-142.
Sherwood, D. (2001). Smart things to know about innovation & creativity. Oxford: Capstone.
Weiss, S. D., & Legand, P. C. (2011). Innovative Intelligence. Ontario: John Wiley & Sons.
Wooi, T. (2013). Innovation Leadership in Education. Retrieved 5 October 2022, from https://www.slideshare.net/timothywooi/innovation-leadership-in-education-29983666