การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม (จียพันธ์บำรุง) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม (จียพันธ์บำรุง) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม (จียพันธ์บำรุง) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประดู่ ทรงธรรม (จียพันธ์บำรุง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีนักเรียนจำนวน 16 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชนิด ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 10 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของ แผนการจัดการเรียนรู้ E1/E2 และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบที (t-test dependent samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.90/86.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม (จียพันธ์บำรุง) ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คมกริช พะเลียง และ ธัชชัย จิตรนันท์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD). วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 10(1), 9-10.
จีรนันท์ บุญลอง และ ศานิตย์ ศรีคุณ. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 8-9.
ณรงค์ ชุมแวงปี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2558). Math League! เทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.