การพัฒนารูปแบบและกลไกการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา ที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบและกลไกการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบและกลไกการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาอาชีวศึกษา
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยประกอบด้วย ครูและผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีข้อมูลการทดสอบระดับชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาอาชีวศึกษาฉบับครูและผู้บริหาร ประเด็นการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรูปแบบและกลไก และแบบประเมินรูปแบบและกลไก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ แนวทาง กระบวนการในการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษาไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนของสถานศึกษาและครู ภายใต้กลไกและเงื่อนไขที่อิงแนวคิดเจตคติต่อการใช้ผลการทดสอบ บรรยากาศองค์กร และภาวะผู้นำการทดสอบของผู้บริหาร โดยรูปแบบประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ที่มาของรูปแบบ กระบวนการใช้ผลการทดสอบ กลไกการใช้ผลการทดสอบเงื่อนไข และการประเมินรูปแบบ โดยผลการประเมินของรูปแบบตามเกณฑ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
under process
References
จตุภูมิ เขตจัตุรัส, พระฮอนด้า เข็มมา, คม พวงยะ, ดาวรุวรรณ ถวิลการ, ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ, กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ, และ ธนัท มูลเจริญพร. (2563). การติดตามและประเมินผลกระทบของการประเมินผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน.
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ, สรัญญา จันทร์ชูสกุล และ พินดา วราสุนันท์, (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการนำผลการประเมินภายนอกไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(2), 2102-2116.
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2557). การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 9(2), 68-78.
บุญชม ศรีสะอาด. (ม.ป.ป.). การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ.http://www.watpon.in.th/boonchom/development.pdf
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. http://www.niets.or.th/index.php/research_th/view15.
ประสงค์ ต่อโชติ. (2555). การพัฒนาโมเดลการวัดการนําผลการประเมินไปใช้ การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปาริฉัตร ปิติสุทธิ. (2558). ผลของการสอบระดับชาติที่มีต่อครูและนักเรียน: การวิเคราะห์ปรากฏการณ์
วอชแบ็ค. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พินดา วราสุนันท์, อัจศรา ประเสริฐสิน, และ สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 8(2), 79-82.
วรวรรณ สังสัพพันธ์. (2560). การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4), 1-15.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556). การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน:พหุกรณีศึกษาโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี. http://www.niets.or.th/index.php/research_th/view15.
Ivancevich, J. M. And Donnelly. J. H. (1989). Management: Principles and function (4th ed.). Boston, MA: Richrad D. Trwin.
Stoner, J. A. F. and Charles Wankel. (1986). Management (3rd ed.). Prentice-Hall.