กระบวนการจัดการเรียนการสอนสำนักศาสนศึกษา แผนก ธรรมและบาลีของวัดสารอด โดยพุทธสันติวิธี พระมหาพงษ์ศักดิ์ จนฺทปญฺโญ (โพธิ์จุมพล)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรคด้านการจัดการเรียนรู้ของสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน สำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยหลักพุทธสันติวิธีสำหรับสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมและบาลีของวัดสารอด ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระอาจารย์ผู้สอนปริยัติธรรมที่ประสบความสำเร็จและสามเณรของวัดสารอดผู้ศึกษาพระปริยัติ รวม จำนวน ๑๖ รูป วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า ๑) บริบท วัดสารอดมีลักษณะเป็นอยู่เหมือนพ่อปกครองลูก โดยมีการดูแลเอาใจใส่ในทุกๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ ดูแลผู้เรียนเป็นอย่างดี และให้คำแนะในด้านปัญหา อุปสรรค แต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสมเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ๒) หลักพุทธธรรมและแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน วัดสารอดใช้หลักอิทธิบาท ๔ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสุขและสันติภาพในชีวิต โดยการใช้ปัญญาไตร่ตรองตรวจสอบเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ปฏิบัติตามหลักพรหมวิหาร ๔ ทั้งผู้เรียนและผู้สอน และ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยหลักพุทธสันติวิธีวัดสารอด พบว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความสอดคล้องตามความต้องการของคณะสงฆ์ เพื่อสร้างภูมิปัญญา ทักษะ ในการเรียนทั้งทางธรรมและทางโลก มีความรู้ความเข้าใจตามหลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, แนวทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมตามพระราชบัญญัติิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒).
จินดารัตน์ โพธิ์นอก, “ การศึกษาตลอดชีวิต”, เดลินิวส์, (วันพฤหัสบดี ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๑): ๒๒,[ออนไลน์], แหล่งที่มา: ๒๒[ออนไลน์], แหล่งที่มา: /2019/01/12132561.pdf [๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖].
พระมหาประจักษ์ พนาลัย และนิรุทธ์ วัฒโนภาส, “การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ของครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี”, วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ ๔ฉบับที่ ๑ (มกราคม – เมษายน ๒๕๖๔).
พระมหาประจักษ์กิตฺติเมธี (ทองดาษ), “การพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี”, วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม–ธันวาคม ๒๕๖๐).
พระมหาสุธรรม สุรตโน (แก้วเคน), “แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสู่ความเป็นเลิศ”, วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๔).
พระราชบัญญัติ การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๕๖๒, ราชกิจจานุเบกษา, (๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒): ๑ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: /7152156.PDF [๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖].
พระศรีศากยวงศ์ และคณะ “การจัดการเรียนรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร”, วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (เมษายน – มิถุนายน ๒๕๖๖).
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ชุมนุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานทางพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๑๔).
act Study of the Pariyattidhamma 2019, Royal Gazette, (15 April 2019): 1 [online], source: /7152156.PDF [14 October 2023].
Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Krom Phraya Damrong Rajanupab, Collection of Writings on Buddhist Legends, (Bangkok: Rungruangtham Printing House, 1971).
Jindarat Phonok, “Lifelong Education”, Daily News, (Thursday 13 December 2018): 22,[online], source: 22[online], source: /2019/01/12132561 .pdf [12 October 2023].
National Education Commission, Guidelines for organizing Buddhist education according to the National Education Act 1999, (Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya, 1999).
Phramaha Prajak Panalai and Nirut Wattanopas, “Strengthening the competency of learning management in the 21st century of Pali teachers of the Pariyattidhamma”, Interdisciplinary Journal of Humanities and Social Sciences, Year 4, Issue 1 (January - April 2021).
Phramaha Prajakkittimatee (Thongdas), “Development of techniques and methods for teaching the Pali Pariyattidhamma”, Yannasangworn Research Institute Journal, Year 8, Issue 2 (July–December 2017).
Phramaha Sutham Suratano (Kaewken), “Guidelines for developing the curriculum for studying the Pali Pariyattidhamma towards excellence”, Mahayana Sound of Dharma Magazine, Year 7, Issue 1 (January - June 2021).
Phrasri Sakyawong and the group, “Basic course management of Phra Pariyatitham School, Dhamma Department, Kosamphi Nakhon District Kamphaeng Phet Province”, KMUTT Hariphunchai Journal, Year 7, Issue 2 (April – June 2023).