ความสังเวช : ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

Tawesak Pudpadee

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องความสังเวช : ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาความสังเวชในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสังเวชกับหลักธรรมอื่นเพื่อความหลุดพ้นและ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสังเวชเป็นปัจจัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความหลุดพ้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ๑) ผลการวิจัยพบว่าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ความหมายของความสังเวชเพื่อความหลุดพ้นนั้น เป็นญาณที่เห็นภัยในวัฏฏะสงสารพร้อมด้วยโอตตัปปะหรือความเกรงกลัวต่อบาป, ๒) ธรรมะอันเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการดับทุกข์คือโยนิโสมนสิการและศรัทธาในพระพุทธเจ้าว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ส่งเสริมความสังเวชและทำให้เกิดความเพียร นอกจากนี้ การศึกษายังเผยให้เห็นถึงบทบาทของความสังเวชในการพัฒนาความสามารถทางจิตห้าประการหรืออินทรีย์ห้าอันเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาชีวิตหรือการปฏิบัติธรรม, และ ๓) ในกระบวนการปฏิบัติธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น ความสังเวชร่วมกับความศรัทธาในพระพุทธเจ้าทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงระหว่างวงจรการเกิดทุกข์กับเส้นทางเพื่อความดับทุกข์หรือเส้นทางโลกุตระ ความสังเวชทำหน้าที่เป็นพลังนำทางจากความรู้สึกเร่งด่วน สร้างแรงกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงภายในจากความเพียรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อความหลุดพ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓, ๒๕๕๖, ๒๕๕๗, ๒๕๕๙, ๒๕๖๐.

กรมศิลปากร. มิลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. ๒๕๔๙.

บุญสืบ อินสาร. พจนานุกรมบาลี-ไทย ธรรมบทภาค ๑-๔ .พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๕๕.

พระคันธสาราภิวงศ์. อภิธัมมัตถสังคหะ และ ปรมัตถทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). การปฏิบัติธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: จรูญการพิมพ์, ๒๕๓๐.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมะจริยา. มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณี สรูปัตถนิสสยะ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัทธััมมโชติกะ, ๒๕๕๓.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ, ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๖.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). “ความเป็นกัลยาณมิตรของหลวงปู่ชา”. จาก ธรรมกถา ปาฐกถา แก่ คณะผู้เข้าร่วมงานพระราชทานเพลิงศพพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ณ วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖. พิมพ์ครั้งที่ ๘. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, ๒๕๖๒.

________. จาริกบุญ-จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๕๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๖๒.

________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๒๗. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, ๒๕๕๙.

________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๕๕. ประเทศจีน : โรงพิมพ์ในประเทศจีน, ๒๕๖๔.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ปฐมสมโพธิกถา (ฉบับเฉลิมพระเกียรติิ ๘๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๕๒.

ส.ศิวรักษ์, ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกวทาน. พิมพ์ครั้งที่ ๔. (กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๕๒

Mingun Tipitakadara Sayadaw. The Great Cronicles of Buddhas. Vol 1 part 1. Yangon: Ti Ni Publishing Centre, 1991.