โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อหิริโอตตัปปะ ของวัยรุ่นตอนต้น

Main Article Content

ณายา เทพธรณินทรา
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างหิริโอตตัปปะของวัยรุ่นตอนต้นตามหลักพุทธจิตวิทยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อหิริโอตตัปปะของวัยรุ่นตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ๓) เพื่อเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อหิริโอตตัปปะของวัยรุ่นตอนต้น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากวัยรุ่นตอนต้นอายุ ๑๒-๑๖ ปีที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๔ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๔๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่าโมเดลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า = ๔.๓๕๙, df = ๓, p = ๐.๒๒๕, CMIN/DF = ๑.๔๕๓, CFI = ๐.๙๙๘ ,GFI = ๐.๙๙๕, AGFI = ๐.๙๗๔, RMSEA = ๐.๐๓๗ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างหิริโอตัปปะ ได้แก่ การสวดมนต์และฟังธรรม การปฏิบัติเจริญภาวนา การควบคุมตนเองและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาโดย


คำสำคัญ: โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, หิริโอตตัปปะ, วัยรุ่นตอนต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิษยา มีเพียร. “ผลของการฝึกการควบคุมตนเองต่อการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนกระทำผิดหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ.

บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑.

ธานี กลิ่นเกสร. “ผลของการฝึกอบรมทางพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาหิริ-โอตัปปะและทัศนคติต่อพุทธศาสนาของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑ (พฤศจิกายน ๒๕๓๘): ๑๐๙-๑๑๗.

นำโชค อุ่นเวียง. ศรัทธาและปัญญาในพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www.trueplookpanya.com/learning/detail/34752 [๙ เมษายน ๒๕๖๕].

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๐. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๓๙.

พระศักดิ์ดา งานหมั่น. “การจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑”.

วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๖๑): ๑-๑๐.

พระอธิการสมพร อนาลโย. “วิเคราะห์ศรัทธาในระบบความเชื่อจากคำสอนของพระพุทธศาสนา”. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. ปีที่ ๖

ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๒): ๙๑-๑๐๓.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สถาพร สู่สุข. “การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการกำกับตนเองด้านความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

สาระ มุขดี. “การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา สำหรับนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช”.

ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๕๖๓. หน้า ๔๐. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://ayuttaya.nso.go.th/ [๙ ธันวาคม ๒๕๖๕].