คุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่ บ้านโพนต้องสะหวาด เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “คุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่บ้านโพนต้องสะหวาด เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” เพื่อศึกษาประวัติ อัตลักษณ์ และวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่ บ้านโพนต้องสะหวาด เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๒๐ รูป/คน ประกอบด้วยพระสังฆาธิการ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีบุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของสปป.ลาว ที่กระทำกันในเดือนสามจนเรียกว่า บุญเดือนสาม มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้านอัตลักษณ์ประกอบด้วย ๓ ช่วงเวลาที่สำคัญคือ ๑) ก่อนถึงวันงานเป็นวันเพ็ญ ๑๔ ค่ำเดือน ๓ เป็นวันเตรียมการสิ่งที่จะนำมาทำข้าวจี่ได้แก่ ข้าวสารเหนียว น้ำตาล เกลือ ไม้เสียบข้าวจี่และเตา มารวมตัวกันที่วัดโพนต้องสะหวาด ๒) วันงานพิธีได้แก่วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ชาวบ้านโพนต้องสะหวาดก่อจะจี่ข้าวจี่ในช่วง ๓-๕ โมงเช้าแล้วนำมาถวายแก่พระสงฆ์ภายในวัดบ้านโพนต้องสะหวาด และ๓) ตอนเย็นของวันงานชาวบ้านก็มารวมกัน เพื่อไหว้พระตอนเย็นร่วมกับพระสงฆ์ หลังจากเสร็จพิธีดังกล่าวจะทำการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ จะถือว่าเสร็จพิธีอย่างสมบูรณ์ คุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่ ประกอบด้วย คุณค่าด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประเพณีบุญข้าวจี่เป็นรากฐานแห่งอุปนิสัยใจคอของคนลาว บ่อเกิดของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของชาวบ้านโพนต้องสะหวาด, คุณค่าทางด้านสังคมงานประเพณีบุญข้าวจี่ได้สร้างความสามัคคีภายในชุมชน เป็นโอกาสในการสร้างความดี และ ถวายทานไปยังผู้ที่เสียชีวิต, คุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นลาว ดั่งคำกล่าวที่ว่า “ฮีดครองลาว เก้าผม เบี่ยงแพ”, คุณค่าทางด้านการศึกษาของงานประเพณีบุญข้าวจี่ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่มาของประเพณี และความเป็นลาว แล้วนำหลักคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติให้ครอบครัวมีความสุข และ คุณค่าด้านโภชนาการได้แก่ การแปรูปอาหารได้แก่จากข้าวจี่ที่ทาเกลืออย่างเดียวก็แปรรูปเป็นทาด้วยไข่ ทาด้วยของหวาน ซึ่งทำให้ข้าวจี่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสารอาหาร สวยงาม และน่ารับประทานมากขึ้น.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
กาญจนา จันทร์สิงห์. ประเพณีท้องถิ่นบุญข้าวจี่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.9bkk.com/article/custom/custom15.html [๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖].
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. รายงานการพยากรณ์ตลาดแรงงาน ปี ๒๐๑๙-๒๐๒๒. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและจัดหางาน, ๒๕๕๑.
กรมประชาสัมพันธ์. เรื่องราวความเป็นมาของวันมาฆบูชาวันเพ็ญเดือนสาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/ 31/iid/163437 [๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖].
ดำรง ธัมมิกมุนี. “พระพุทธศาสนาลาวตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน”. ศิลปนิพนธ์ปริญญา สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๖๒.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
ฐิติพร สะสม. “ศึกษาวิเคราะห์เครื่องสักการะเพื่อเป็นพุทธบูชาของล้านนา”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์มจร วิทยาเขตแพร่. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม–มิถุนายน ๒๕๖๒): ๑.
สัมภาษณ์ พระอาจารย์สิงคำ สุวันนะสาน. เจ้าอาวาสวัดป่องแก้ว คะณะ ประจำ อ.พ.ส เมืองจันทะบูลี นครหลวงเวียงจันทน์, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖.
สีนุก สิงลิด. ลาวสึกสา. นครหลวงเวียงจัน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว, ๒๕๖๔. หน้า ๓-๔.
บัววอน พรมบุตร. “พิธีกรรมของบุญห่อข้าวประดับดิน ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป ลาว”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๑): ๒๕-๔๓.
________. “ธาตุพื้นบ้าน พัฒนาการทางรูปแบบ และ พิธีกรรม ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป ลาว”, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๙.
พระครูอาทรวชิรกิจ. “มองประเพณีของลาวแล้วมองเข้ามาที่ประเพณีของไทย”. วารสารวิจัยพุทธศาสตร์. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๐): ๙๔.
อิศราภรณ์ ประเสริฐศรี. “การศึกษาประเพณีฮีตสิบสอง เพื่อออกแบบภาพประกอบกรณีศึกษาบุญเดือนห้า (ประเพณีสงกรานต์)”. ศิลปนิพนธ์ปริญญาศิลปะประยุกต์บัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์. คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ๒๕๖๐.