แนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมศรี รุ่งแสงทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค ๓ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาวิธีพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน  เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)  นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๓ รูป และกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๓ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพปัญหาสุขภาวะของผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสินมีปัญหาสุขภาวะทางด้านร่างกายและสุขภาวะทางด้านจิตใจ แต่ไม่มีปัญหาสุขภาวะทางด้านสังคมและสุขภาวะทางด้านปัญญา ๒) วิธีพัฒนาสุขภาวแนวพุทธ พบว่า วิธีพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธ เป็นวิธีที่นำหลักภาวนา ๔ คือ (๑) กายภาวนา (๒) สีลภาวนา (๓) จิตตภาวนา (๔) ปัญญาภาวนา มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสุขภาวะ ๔ ด้าน ๓) แนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน  ธนะสิน  เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร พบว่า (๑) กายภาวนา ผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน ควรออกกำลังกายด้วยการเดินจงกรมอย่างมีสติสัมปชัญญะ ควรใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ ควรบริโภคใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยปัญญา และควรดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่รอบตัว (๒) สีลภาวนา ผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสินควรรักษาศีล ๕ ควรรักษากฎกติกาของสังคม ควรมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในสังคม เป็นต้น  (๓) จิตตภาวนา ผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสิน ควรพัฒนาจิตใจของตนให้มีพรหมวิหาร มีคุณธรรม มีความร่าเริง มีสมาธิ  (๔) ปัญญาภาวนา  ผู้สูงอายุในหมู่บ้านธนะสินควรพัฒนาปัญญา ด้วยการเรียนรู้วิชาการต่างๆ ขบคิดวิเคราะห์วิชาการจนสามารถแยกแยะเชื่อมโยงได้ และลงมือปฏิบัติตามวิชาการเพื่อให้เกิดผลจริงและมองสิ่งต่างๆ ในโลกให้เห็นตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

เพ็ญ สุขมาก. หลักคิด: สุขภาพ สุขภาวะ ปัจจัยกำหนดสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, ๒๕๕๙.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร ๔๒๐ ชั่วโมง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, ๒๕๕๗.

อาภาพร เผ่าวัฒนา. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. จังหวัดขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ๒๕๕๔.

สัมภาษณ์ นายศิริศักดิ์ หาญชนะ. ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔.

สัมภาษณ์ นางสาวศรีศรี ณรงค์ฤทธิ์. ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔.