แนวคิดในพระพุทธศาสนาเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

พิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์
ประเวศ อินทองปาน
ธเนศ ปานหัวไผ่

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์แนวคิดในพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  โดยศึกษาจากต้นปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่ก่อกำเนิดมาจากการที่มนุษย์ใช้ชีวิตโดยไม่ได้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมแบบสังคมบริโภคนิยมจนทำให้มนุษย์ทำลายธรรมชาติจนเกิดวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อมรุนแรง อันส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ผู้เขียนได้ศึกษางานเอกสารเพื่อตอบคำถามว่าพระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่นำมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือไม่ เช่น กฎไตรลักษณ์  ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท  อริยสัจ ๔  การศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม  พบว่าพระพุทธศาสนาสามารถพัฒนาจิตใจให้รักษ์ธรรมชาติได้เพราะมีหลักธรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหลักธรรมสากล  ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจรักษ์ธรรมชาติอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาตนให้มีจิตสำนึกแห่งความเมตตา กรุณา และความมีเหตุผล มองสรรพสิ่งในธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวมและอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อการปฎิบัติอย่างจริงจังในการแก้ไขและดับปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว โดยการปลูกจิตสำนึกใหม่ว่า ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ก็ไม่ใช่ศูนย์กลางของโลก และสรรพสิ่งที่ทำให้โลกดำรงอยู่ได้คือการเสริมสร้างคุณค่าทางคุณธรรมเพื่อตระหนักว่าในเวลานี้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปพร้อมกันด้วยความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิชญานันต์ พงษ์ไพบูลย์ นิสิตดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ.๒๕๕๗ รุ่นที่ ๑

ปฐมกาล ๑: ๒๖,๒๘ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์, ๑๙๙๘. หน้า ๒

Leopold, A., The Land Ethics in a sand Almanac County. New York: Ballantine Books. 1970. P.47.

ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน . พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. หน้า ๑๒๗-๑๔๑

สัง.นิ ๑๖/๖๑/๑๒๕ ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, ๒๕๑๔

ข้อทูลจากสื่ออิเลคโทรนิค http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/23154-00/