แนวทางการจัดการขยะในชุมชนตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

กฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์
กรรณิการ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะในชุมชนตามหลักไตรสิกขา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษา พบว่า หลักไตรสิกขา คือ ข้อปฏิบัติที่จะต้องศึกษา มีความหมายทั้งในแง่การศึกษาเรียนรู้และการลงมือปฏิบัติ ประกอบด้วย ๑) อธิศีลสิกขา หมายถึง การเรียนรู้กฎระเบียบและการรักษากฎระเบียบ ๒) อธิจิตตสิกขา หมายถึง การเรียนรู้วิธีพัฒนาจิตใจ และการปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจ ๓) อธิปัญญาสิกขา หมายถึง การเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญา และการปฏิบัติเพื่อพัฒนาปัญญา ส่วนแนวทางการจัดการขยะในชุมชนตามหลักไตรสิกขา มี ๓ ขั้นตอน ๑) อธิสีลสิกขา: การสร้างการรับรู้ หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกวิธีแก่ชาวบ้าน ๒) อธิจิตตสิกขา: การพัฒนาชุมชนให้ปลอดขยะ หมายถึง การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชนร่วมกัน ๓) อธิปัญญาสิกขา: การสร้างเครือข่าย  หมายถึง การขยายผลของกิจกรรมไปยังชุมชนอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

พระธรรมโกศาจารย์. วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. ม.ป.ท., ม.ป.ป..

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๕๑. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๖๒.

พระครูโกมุทสิทธิการ (พิทักษ์ เกสโร) และ ศุลีพร เศวตพงษ์. “การเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๗): ๑๐๓.

พระครูพิศาลสรกิจ (สุทิน สุทิโน) พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก และพระสุกฤษฎิ์ ปิยสีโล. “การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิงตามแนวพุทธศาสนา”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๓): ๗๑.

Green Network. ขยะไม่มีที่อยู่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. greennetwork thailand.com [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖].

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ ไทยสร้างขยะมากเป็นอันดับ๓ของโลก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.onep.go. th/ [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖].

ISAN INSIGHT & OUTLOOK. สถานการณ์ขยะมูลฝอยของไทย เมื่อรัฐเล็งยกเลิกใช้กล่องโฟม แก้ว-หลอดพลาสติก ภายในปี ๖๕. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://isaninsight. kku.ac.th/archives [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖].

รัฐบาลไทย. รัฐบาลเดินหน้า “แก้ปัญหาขยะ” ต่อเนื่อง ผ่านแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐) มุ่งยกระดับการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details [๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖].