รูปแบบการใช้สื่อสร้างสรรค์วิถีพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา
ทิพย์ธิดา ณ นคร
พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี
เอื้ออารีย์ วัยวัฒนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ พัฒนากระบวนการ และประเมินผลการใช้สื่อสร้างสรรค์วิถีพุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิดของเยาวชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ คน กลุ่มเสวนาออนไลน์ จำนวน ๓๐ คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน ๖๐ คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรมเสวนาและกิจกรรมจับกล้องส่องบ้านเกิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า ๑. รูปแบบการใช้สื่อประกอบด้วยเครือข่ายขับเคลื่อนสานความร่วมมือ กระบวนการสร้างความร่วมมือและการเสริมสู่การยกระดับ ๒. กระบวนกิจกรรม มี ๔ ขั้นตอน คือ สร้างความร่วมมือเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ อบรมปลูกจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด การทำโครงการจับกล้องส่องบ้านเกิดและ นำเสนอคลิปวีดิโอใต้แนวความคิด“แลดูเบิ่งผ่อ” คือ “๕ ดู” ได้แก่ วิถีชีวิต ค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ๓. ผลประเมิน พบว่า ภาพรวมเยาวชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิดสูงขึ้นก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการใช้สื่อประกอบด้วยการพัฒนากระบวนการใช้สื่อสร้างสรรค์ กิจกรรมใช้สื่อสร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์ถิ่นบ้านเกิดและผลผลิตสื่อสร้างสรรค์ ๑๐ ชิ้นงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ และคณะ. “การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้”. รายงานวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓.

เกศินี ประทุมสุวรรณ. “เมืองสื่อสร้างสรรค์: ตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนาเยาวชน”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๒ (เมษายน – มิถุนายน), ๒๕๕๙.

ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ และประทีป พืชทองหลาง. “การสื่อสารธรรมเพื่อการพัฒนาสังคมเชิงสร้างสรรค์”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ ๖ ฉบับพิเศษ.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www. nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf [๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕].

พนา ทองมีอาคม และคณะ. เรียนรู้เรื่องสื่อ. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพมหานคร: บริษัท สามเจริญพาณิชย (กรุงเทพ) จำกัด, ๒๕๕๙.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๖.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕.

สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด, ๒๕๖๐.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๕๙.

อัญรินทร์ อมรอิสริยาชัย. “สื่อนั้นสำคัญไฉน” ความสำคัญของสื่อ และสิ่งที่สื่อขาดหายไปในปัจจุบัน. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://kuza.me/Yapao [๒๘ เมษายน ๒๕๖๕].