ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักไตรสิกขากับสมรรถนะหลักของครู กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักไตรสิกขากับสมรรถนะหลักของครู กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี นี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะหลักของครู กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะหลักของครู กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน ๒๒๖ คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบ ถามความคิดเห็น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๒๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ๑) การบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านสมาธิ ด้านศีลและด้านปัญญา โดยด้านสมาธิ ผู้บริหารมีความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบ มีความมุ่งมั่นตามภารกิจ ด้านศีล ผู้บริหารปฏิบัติตนตามระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ถูกต้องตามข้อบังคับและกฏเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน และด้านปัญญา ผู้บริหารแสดงออถึงความรู้ความสามารถ ความเข้าใจงานตามบทบาทของผู้บริหารเป็นอย่างดี ๒) สมรรถนะหลักของครู กลุ่มสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานได้ว่า ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ครูยกย่อง ชื่นชม บุคคลที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ ด้านการทำงานเป็นทีม ครูให้เกียรติ ยกย่องชมเชย ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงานในโอกาสที่เหมาะสม ๓) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารกับสมรรถนะหลักของครูใน ๕ สมรรถนะ พบว่าการบริหารตามหลักไตรสิกขาด้านศีล มีความสัมพันธ์กับด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ แต่ไม่สัมพันธ์กับด้านอื่น ส่วนการบริหารตามหลักไตรสิกขาด้านสมาธิและด้านปัญญามีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของครูทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), (๒๕๕๓).
กัญญ์วรา ผลเจริญ. การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑.งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, (๒๕๕๙).
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๙-๒๕๖๔). กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, (๒๕๕๙).
ฉันทนา บุญมาก. สมรรถนะครูของครูโรงเรียนอนุบาลชลบุรีตามความรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, (๒๕๕๕).
ณัฐนันท์ วงษ์กลม. การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, (๒๕๖๐).
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักไตรสิกขาของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทเขา กระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๕๔).
ทิพยาพัศ คลังแสง. การบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๕๖).
มัทธนา ไชยชนะ. ผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องการสินค้าตามแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) กรณีศึกษา: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, (๒๕๕๕).
บรรพต เจนทร์. ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู ในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, (๒๕๕๗).
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์, (๒๕๕๖).
พรรษภรณ์ มูลวงค์. สมรรถนะครูของครูโรงเรียนในกลุ่มวิชาการที่ ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานรคปฐม เขต ๑. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, (๒๕๕๘).
พระครูปลัดเอนก ปุณฺณวุฑโฒ (แก้วดวงดี). รูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๕. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๖๑).
พระภูพีรวิชญ์ ภูริปญฺโญ (สิทธิอาสา). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๖๐).
พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร. การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๖๑).
พระอภิชิต อธิจิตฺโต (โชติกาล). การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต ๑. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๖๑).
พรทิพย์ บุญณสะ. การพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, (๒๕๕๕).
ภัทรสุดา เกิดแสง. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของครูผู้สอนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๓. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, (๒๕๖๓).
ศิริพรรณ ตันติวิวัฒนพันธ์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับความสุขของบุคคลในองค์กรเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีวิตและความตาย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (๒๕๖๑).
สุธี บูรณะแพทย์. สมรรถนะครูของครูโรงเรียนในกลุ่มวิชาการที่ ๔ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๓. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, (๒๕๕๗).
สุรศักดิ์ ปาเฮ. การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๖๑) วันที่ ๒๘-๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์จังหวัดแพร่. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต ๒. (๒๕๕๓).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔): กรุงเทพฯ, (๒๕๖๐).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ: สํานักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (๒๕๕๓).
Best, J. W., Research in Education. New jersey: prentice hall Inc, (๑๙๗๗).
Krejcie, R.V. & Morgan, D. w. Dertermining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. ๓๐(๓), ๖๐๗ – ๖๑๑, (๑๙๗๐).
Magnuson Walter C. The Characteristice of Succeesful school BusinessManagers. Disserttation Abstract International. ๓๒ : ๑๓๓-A, (๑๙๗๑).