การประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาสู่การแก้ปัญหาการศึกษาไทย

Main Article Content

Amphon Buddasarn

บทคัดย่อ

 ปัจจุบันการศึกษาไทยนั้นตกต่ำลงอย่างมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน 1) ปัญหาด้านนโยบายด้านการบริการจัดได้ไม่ทั่วถึง 2) ปัญหาด้านระบบบริหารการจัดการศึกษา คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ 3) ปัญหาโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเด็กยากจน 4) ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย 5) ปัญหาด้านผู้ปฏิบัติ การแก้ปัญหาการศึกษาไทย มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่อง คุณภาพของครูในปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) การปฏิรูปการผลิตครูและสถาบันผลิตครู 2) การพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 3) การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ส่วนการแก้ปัญหาการศึกษาบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่ผู้ที่จะมากำกับดูแลงานทางด้านการศึกษา การแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษามารับผิดชอบ เรื่องการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน จะต้องมีการประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาไว้ในทุกหลักสูตรทุกระดับ หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทและหน้าที่ ตลอดทั้งการร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง เชื่อว่าการศึกษาของไทยจะพัฒนาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กลิ่น สระทองเนียม. (2554). เมื่อครูขาดแคลน..ครูขาดคุณภาพ..คุณภาพเด็กจะเป็นอย่างไร?. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา : http://www.dailynews.co.th

กองบรรณาธิการ TCIJ. (2561). รื้อปัญหา 'ครู' ระบบเหลื่อมล้ำ-ล้าหลัง ค่าจ้างรัฐสูง-เอกชนต่ำเกษียณเยอะงานหนักไม่อิสระ. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา :

https://www.tcijthai.com/news/2018/12/scoop/8561.

โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์. (2556). หลักรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

จักรแก้ว นามเมืองและคณะ. (2549). รายงานการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ

(customer satisfaction) ในมิติด้านคุณภาพการให้บริการงานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัญลักษณ์ สัมพันธ์. (2556). ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาส สิทธิและโอกาสในการรับบริการสาธารณะ: การศึกษา. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2560, จาก

http://sdgroup1.blogspot.com/2013/01/ 5324202 5.html

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์, นุชนาถ สุนทรพันธุ์ และนวลลออ แสงสุข. (2548). การศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระไพศาล วิสาโล. (2547). ส่องสว่างทางไท. กรุงเทพฯ : กลุ่มเสขิยธรรม.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปิยะ อัจฉริยะ. (2550). ปัญหาของการศึกษาไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ :

https://sites.google.com

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก http:// thaihealth/photos/

a.10155368543123106/10155046310278106/

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ). (2563). กรุงเทพฯ : มปท.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550 ก). แนวทางการจัดการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สํานักงานฯ.

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์. (2555). การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทย กับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาภรณ์ ภัทรวณิชย์และ ปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. (2550). “ความไม่เท่า เทียมกันทางการศึกษา : เมืองและชนบท”. ในวรชัย ทองไทย และ สุริย์พร พันพึ่ง, บรรณาธิการ. ประชากรและสังคม. นครปฐม: สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

Machin & Vignoles, (2004). Educational Inequality: The Widening Socio-Economic Gap. February. Fiscal Studies. 25 (2) : 107-128.