การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรและศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรมหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ๔ ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๒๐ รูป/คน อาจารย์ประจำหลักสูตร ๕ คน ผู้ใช้บัณฑิต ๑๗ รูป/คน และนิสิต ๕๕ รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินหลักสูตรฯ ในด้านบริบทและกระบวนการ และคะแนนเฉลี่ยการประเมินความคิดเห็นของนิสิตในภาพรวมและทั้ง ๔ ด้านอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยด้านผลผลิต ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตโดยรวม คะแนนเฉลี่ยผลการวิเคราะห์โครงสร้างของหลักสูตรแบบ ๑.๑ และ ๒.๑ ในภาพรวมและความเหมาะสมทั่วไปของรายวิชาในหลักสูตรและรายวิชารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาที่ได้นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จัดการประชุมวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิและจัดประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
กมล โพธิ์เย็น. “การประเมินหลักสูตรสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๒ (พฤศจิกายน ๒๕๕๘ – มีนาคม ๒๕๕๙).
กรรณิการ์ สัจกุล และบุญมี เณรยอด. การประเมินผลหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
กาญจนา คุณารักษ์. หลักสูตรและการพัฒนา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๖๐.
จิรพันธ์ ไตรทิพจรัส. แนวคิดทฤษฎีการประเมิน. ภูเก็ต: บัณฑิตวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, ๒๕๕๖.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: อลีนเพรส, ๒๕๕๙.
ชุติระ ระบอบและคณะ. “การประเมินหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”. วารสารธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๑).
ณฐมนต์ คมขำ. “การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตร พ.ศ.๒๕๔๑ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา”. วารสารหลักสูตรและการสอน. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๕๗ – มีนาคม ๒๕๕๘).
ทิศนา แขมมณี ใน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (บรรณาธิการ). รวมบทความทางการประเมินโครงการ เล่มที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
ธำรง บัวศรี. ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์, ๒๕๕๕.
บุญชม ศรีสะอาด. การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๕๖.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรออฟเซท, ๒๕๕๕.
พิสณุ ฟองศรี. การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์, ๒๕๕๙.
ภัทรพร อรัณยภา และคณะ. “การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ .๒๕๔๔)”. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ (กันยายน – ธันวาคม ๒๕๖๑).
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. วิธีวิทยาการวิจัยทางหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๕๕. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
มั่น เสือสูงเนิน, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์. “การประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาเพื่อการจัดการศึกษาทางด้านจิตวิทยา”. ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์. ๒๕๖๒.
ยุทธพงษ์ ไกยวรรณ. เทคนิคและวิธีการสอน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๑.
วิสูตร โพธิ์เงินและคณะ. “การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน – ธันวาคม ๒๕๖๐.
สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: วงเดือนการพิมพ์, ๒๕๕๗.
สิริพร บุญญานันต์. “การวิจัยหลักสูตร”. วารสารวิธีวิทยาวิจัย. ปีที่ ๑ (กันยายน – ธันวาคม ๒๕๕๖).
สุดาพร ไชยะ. “การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์”. วารสารวิทยาจารย์. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๑๐ (สิงหาคม ๒๕๕๕).
๒) งานวิจัย
กนกพร ทองสอดแสง และคณะ. “การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๖๐.