การพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศตามหลักอิทธิบาท ๔ ทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ๔.๐ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพตามหลักอิทธิบาท ๔ ต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ๔.๐ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีตามหลักอิทธิบาท ๔ ต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ๔.๐ มีตัวแปรตามซึ่งจำแนก ออกเป็น ๒ ด้านดังนี้ ๑) ทักษะด้านวิชาชีพบัญชียุคดิจิทัล ได้แก่ ๑.ด้านวิชาชีพบัญชี ๒. ด้านภาษีอากรธุรกิจ ๓.ด้านคุณค่าทางวิชาชีพ ๔. ด้านภาษา ๕. ด้านการบริหารการจัดการ และ ๒) ทักษะด้านสารสนเทศในยุคดิจิทัลได้แก่ ๑.ด้านความสามารถในการกำหนดประเภทและขอบเขตสารสนเทศทางบัญชี ๒.ความสามารถในการเข้าถึงสระสระสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. ด้านความสามารถในการประเมินสาระสนเทศทางบัญชีและแหล่งสารสนเทศทางบัญชี ๔. ด้านความสามารถในการใช้สารสนเทศทางบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับตัวแปรตาม ได้แก่ ผู้สอบบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาใน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๐๙ คน ผลการศึกษาการวิจัย๑) ทักษะด้านวิชาชีพบัญชียุคดิจิทัล และ๒)ทักษะด้านสารสนเทศในยุคดิจิทัล ภาพรวมมีระดับเห็นด้วยมากที่สุด ๓) การพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีความสำคัญของอิทธิบาท ๔ ว่า การใช้หลักธรรมที่ปฏิบัติเพื่อเอาชนะปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ เป็นหนทางนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานต่าง ๆ ตามที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งประกอบด้วยฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิด) และวิมังสา (ความไตร่ตรอง)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
มงคล กิตติวุฒิไกร. (๒๕๕๙). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ชัพวิชญ์ คำภิรมย์. (๒๕๕๙). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางการบัญชีและประสบการณ์ด้านการสอบบัญชี ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. มหาสารคาม : คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสารคาม.
สุริยงค์ วงศาพัฒนานันท์. (๒๕๖๐). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาสถานประกอบการจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สิตางศุ์ เหลืองอ่อน. (๒๕๖๑). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ดุจกมล นาจารย์. (๒๕๕๘). ศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บัวจันทร์ อินธิโส สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ และ สุธนา ธัญญขันธ์. (๒๕๖๐). ความรู้และความสามารถทางิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (๒๕๕๖). แม่บทการศึกษาระหว่างประเทศ. สืบค้าเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.tfac.or.th/-Article/Detail/๖๖๙๘๐