การสังเคราะห์งานวิจัย: การพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย (Research Synthesis) โดยประชากรศึกษาคือ รายงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาและแนวคิดตะวันตกที่ตีพิมพ์ในช่วง ๒๕๕๑–๒๕๖๐ จำนวน ๔๐ เรื่อง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตและปัญญาโดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๔๘, S.D.=๐.๕๗) แนวคิดการพัฒนาจิตและปัญญาเป็นแนวคิดเชิงแบะแนวคิดตะวันตก ทั้งสองต่างมีจุดหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ให้เกิดสมดุลของกายและใจ รวมถึงสมดุลกับธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้อค้นพบจากการสังเคราะห์งานวิจัย มี ๔ ประการ คือ ๑) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๒) รูปแบบกระบวนการศึกษา ๓) กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย และ ๔) จุดมุ่งหมายในการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม คือ“GPA ๔ Happy Life Model” เป็นหลักการสำคัญในการออกแบบกิจกรรมเรียนรู้เพื่อการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมเพื่อการเข้าถึงความสุขแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. การสังเคราะห์งานวิจัย.วารสารวิทยาจารย์, ปีที่ ๑๑๒ ฉบับที่ ๑ (พฤศจิกายน, ๒๕๕๕), หน้า ๕๑.
พระครูธรรมธรครรชิต คุณวโร. จิตตภาวนากับการเปลี่ยนแปลงในพระพุทธศาสนา.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๑๕(๒), ๒๕๕๖, หน้า ๑๔๓-๑๕๒.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต).พุทธธรรมฉบับปรับขยาย พุทธธรรมประดิษฐาน ๒๖ ศตวรรษ.กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม, ๒๕๕๕.
_______.ภาวะองค์รวมแนวพุทธ, พิมพ์ครั้งที่ ๓๓,(นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, ๒๕๕๗).
พระสุธีรัตนบัณฑิต. LIST MODEL FOR RESEARCH AND SOCIAL DEVELOPMENT. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.,“เผยป่วย“NCDs”คุกคามประชากรโลก”, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.thaihealth.or.th/Content/
๓๔๔๓๓๘๑.html.[๒๙ ธ.ค.๒๕๕๙].
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่๔. จำนวน ๔๐๐ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๕๕.