The การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

นิวัฒน์ พุฒวันเพ็ญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุ ๓)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ รูป/คน และผู้เกษียณอายุ ๑๖ คน ผลการวิจัยพบปัญหา ๔ ด้านคือ ด้านสุขภาพกายและใจ, ด้านสังคม, ด้านการเงิน และด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพกายพบป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๘ ด้านสุขภาพใจและการเงินร้อยละ ๖.๒๕ ไม่มีปัญหาด้านสังคมและที่อยู่อาศัย พบหลักพุทธธรรมด้านสุขภาพกายและใจคือ ภาวนา ๔ ด้านสังคม คือบุญกิริยาวัตถุ ๓ ด้านการเงิน คือ โภคาทิยะ ๕ ด้านที่อยู่อาศัยคือ สัปปายะ๗ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางหลักพุทธธรรม มีดังนี้ ด้านสุขภาพกายและใจ คือเข้าใจความจริงชีวิต, ด้านสังคม ทำกิจกรรมให้เหมาะกับสุขภาพตน, ด้านการเงิน คือรู้จักวางแผนการเงิน และด้านที่อยู่อาศัย คืออยู่ที่สบายเกื้อหนุนการเจริญภาวนาได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ก. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
หนังสือ
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.๒๕๖๑. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด, ๒๕๖๒.
วารสาร
เจริญ สุขนิยม, “การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยวิธีพุทธบูรณาการ”, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๑): ๖๒๕.
สมบูรณ์ วัฒนะ. “แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุ ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๔๔ (มกราคม ๒๕๕๙): ๑๗๓-๑๗๔.
วิทยานิพนธ์
พัชรินทร์ แจ้งอิ่ม. “การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูตามหลักภาวนา ๔ ในอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
การสัมภาษณ์
สัมภาษณ์ พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ. ดร., อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔.
สัมภาษณ์ พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร., ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, ๖ มีนาคม ๒๕๖๔.
สัมภาษณ์ ศ. พิเศษ ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ, อาจารย์พิเศษ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔.
สัมภาษณ์ ศ. ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ, อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔.
สัมภาษณ์ รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิต, อาจารย์พิเศษ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.sepo.go.th/tinymce/ห้องกฎหมาย/พรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์/1282545983.pdf. หน้า ๒. [๖ เมษายน ๒๕๖๔].
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.op.coj.go.th/file/415955.pdf. หน้า ๗. [๖ เมษายน ๒๕๖๔].