การพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมไทยในโครงการ EEC ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

ปริยา รินรัตนากร

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ด้านการส่งออก และทำให้คนไทยต้องติดอยู่กับกับดักรายได้ปานกลาง รัฐบาลจึงได้ริเริ่มและผลักดันโครงการ EEC โดยมุ่งที่จะพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมให้เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนด                ๑๒ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ต้องการมุ่งพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยยังคงมีอยู่หลายประการ อาทิ ปัญหาการพึ่งพาต่างประเทศ ปัญหาการแข่งขัน และปัญหาการย้ายฐานการลงทุน เป็นต้น รัฐบาลจึงได้หาแนวทางการพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมไทยด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว และเข้มแข็งขึ้น อาทิ มาตรการส่งเสริมการลงทุน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ เป็นต้น เมื่อเกิด             การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบและนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ต่อชุมชนโดยรอบ อาทิ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะ และปัญหาด้านทรัพยากร ดังนั้นแนวคิดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมและชุมชนอยู่รวมกันได้อย่างปกติสุข  เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักพุทธธรรมที่เรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอยู่ร่วมกันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกันถือเป็นการพัฒนาอย่างแท้จริง


 


คำสำคัญ :  อุตสาหกรรม,  ความรับผิดชอบต่อสังคม,  หลักพุทธธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย
คงกระพัน อินทรแจ้ง. การเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจากการเปลี่ยน แปลงทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง (Disruptive Technology). หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๐. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย, ๒๕๖๑.
พระครูศรีปริยัตยารักษ์. “การนำหลักสังคหวัตถุ ๔ ไปใช้ในพัฒนาการบริหารจัดการขององค์กรบริหารส่วนตำบล”. วารสารธรรมวิชญ์, ๒(๒), หน้า ๓๑๘-๓๒๑, ๒๕๖๒.
สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, ๒๕๖๑.
สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ความคืบหน้าในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตุลาคม ๒๕๖๒ - มีนาคม ๒๕๖๓. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, ๒๕๖๓.
สายจิตต์ พลอินทร์, เรืออากาศเอกหญิง. ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัย เพื่อรองรับเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor). หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย, ๒๕๖๑.
โสรญา พิกุลหอม. ความต้องการแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐) (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://library2.parliament. go.th/ejournal/content_af/2561/aug2561-1.pdf [๒๕๖๒, ๘ ธันวาคม].

ภาษาอังกฤษ

Godfrey Adda, John Bosco Azigwe & Aboteyure Roger Awuni. Business Ethics and Corporate Social Responsibility for Business Success and Growth. European Journal of Business and Innovation Research, 4(6), pp. 26-42, 2016.
Mridula Goela, Preeti E. Ramanathan. Business Ethics and Corporate Social Responsibility–Is there a dividing line?. Procedia Economics and Finance, 11, pp. 49–59, 2014.