การให้ทาน: คุณธรรมจำเป็นในสังคมช่วงสถานการณ์โรคระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (Covid -19)

Main Article Content

สังข์วาล เสริมแก้ว
พระประเทือง ขนฺติโก (ศรีสมบูรณ์)
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บบทความนี้มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องทานซึ่งเป็นคุณธรรมเบื้องต้นตามหลักพระพุทธศาสนาในสถานการณ์โรคระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (Covid - 19) ทาน คือ การให้ จาคเจตนา ไทยธรรม วิรัติ ทาน ๒ ประเภทได้แก่อามิสทานและธรรมทาน เป้าหมายของการให้ทาน คือ เพื่อต้องการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ผู้เดือดร้อนต้องการช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งเบาภาระผู้อื่นให้สามารถช่วยเหลือพึ่งพาตัวเองได้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา ๒๐๑๙ (Covid - 19) ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ด้านการใช้ชีวิต การศึกษาและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานบางกลุ่มต้องออกจากงาน จนทำให้ครอบครัวสูญเสียรายได้อันเนื่องจากมาตรการของรัฐบาลในการลดการแพร่ระบาดและการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม ต่างส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และในขณะเดียวกันทำให้สามารถมองเห็นความมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์มีการให้ทานที่แตกต่างกันไป เช่น การตั้งตู้ปันสุข ทั้งภาครัฐภาคเอกชน คณะสงฆ์ มีการตั้งโรงทานแบ่งปันนำใจซึ่งกันและกัน สิ่งของที่แจกส่วนมากเป็นอาหารแห้ง และเครื่องดื่ม ซึ่งในบางสถานที่มีการแจกทานที่หลากหลาย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้พึ่งตัวเองได้ และในขณะเดียวกันทางภาครัฐยังมีโครงการต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชนได้พอสมควร ในภาวการณ์เช่นนี้จะเห็นได้ว่าทั่วโลกมีการเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก, กระบวนการสอนของพระพุทธเจ้า, วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๖๑.
พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน และ พระปัญญารัตนากร, การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมในยุคโควิค ๑๙, วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๓.
พระครูวิโรจน์กาญจนเขต และ พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์, “วิปัสสนากรรมฐานเพิ่มพลังจิตสู้ภัยโควิด – ๑๙ : บทเรียนจากองค์ดาไลลามะ”, วารสารศิลปะการจัดการ, ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๓.
ทักษิณา แสนเย็น และคณะ, “บทวิเคราะห์การรับมือโรคโควิด-๑๙: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน”, วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม–สิงหาคม ๒๕๖๓.
นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน,มนตรี สิระโรจนานันท์, พุทธวิธีเพื่อการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด ๑๙, วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ ๑๖ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม–สิงหาคม๒๕๖๓, หน้า ๔๒.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วรินทร ทวีโชติชัยกุล และ พระปลัดสมชาย ปโยโค,ดร., “รูปแบบโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย”, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒).
วันชัย เมธาอภินันท์, พระมหามิตร ตปญฺโญ และโสวิทย์ บำรุงภักดิ์, “การสร้างสุขตามหลักสังคหะวัตถุ ๔ ของชุมชนอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น”, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๓ (กันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๑) ฉบับพิเศษ.
สุรัยยา หมานมานะ และคณะ, กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)”, วารสารสถาบันบำราศนราดูร, ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๓.