การอธิบายหลักการแรกของธาเลสกับการอธิบายตัณหาของพุทธปรัชญา: ความเหมือนและความต่างในมิติวัฒนธรรมการแสวงหาความรู้

Main Article Content

พระมหาพรชัย สิริวโร
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี
ไข่มุก เหล่าพิพัฒนา

บทคัดย่อ

การพยายามจะเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการที่เหมาะสม เพราะวิธีการที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้พยายามค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นพบสิ่งที่ต้องการได้ บทความนี้พยายามศึกษาวิเคราะห์วิธีการที่พุทธปรัชญาใช้อธิบายตัณหาแล้วพบว่ามีการใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงสาเหตุและผลจนทำให้พระพุทธเจ้าตีแผ่ตัณหาออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน การที่ธาเลสพยายามจะเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การศึกษานี้พบว่าเขาก็ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงสาเหตุและผลจนทำให้เขาสามารถพบหลักการแรกได้ งานนี้จึงยืนยันได้ว่า วิธีการวิเคราะห์เชิงสาเหตุและผลนั้นเป็นวิธีการที่มีการใช้กันมานานแล้วทั้งปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก และงานนี้ยังเสนอแนะอีกว่า เมื่อวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ต่อการเข้าใจทั้งเรื่องภายนอกกล่าวคือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเรื่องภายใน กล่าวคือ เรื่องจิตใจรวมไปถึงความรู้สึกนึกคิด เราควรสนับสนับสนุนการเรียนรู้วิธีการให้มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเข้าเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
Allen E. Reginald. Greek Philosophy: Thales to Aristotle. (3rd Ed.) Revised and Expanded. (Edited). New York: 1991.
O’Grady, Patricia F. Thales of Miletus: the beginning of Western science and philosophy. London: Routledge, 2002.
Trundle, Robert C. Ancient Greek Philosophy: Its Development and Relevance to Our Time. Aldershot: Avebury, 1994.