สถานภาพของแม่ชีไทย : กรณีศึกษาวัดปากน้ำภาษีเจริญ

Main Article Content

แม่ชีณัฐหทัย ฉัตรทินวัฒน์

บทคัดย่อ

สถานภาพของแม่ชีไทย เกิดจากผลการปฏิรูปศาสนาพุทธในรัชกาลที่ ๕ และการออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ กำหนดว่าเป็นเพียงอุบาสิกาเท่านั้น ในกลุ่มแม่ชีเองก็มีสถานภาพต่างกัน แบ่งออกเป็น ๑) แม่ชีธรรมกาย เป็นรูปแบบของแม่ชีวัดปากน้ำเท่านั้น มีหน้าที่ปฏิบัติภาวนา ๒) แม่ชีโรงครัว มีหน้าที่ทำครัวสนับสนุนพระภิกษุ ๓) แม่ชีศาลา มีหน้าที่ดุแลความเรียบร้อยในศาลาฉัน ๔) แม่ชีนักเรียน ได้รับอนุญาตให้ศึกษาบาลีและธรรมศึกษาร่วมกับสงฆ์ภายในวัด สาเหตุในการบวช แม่ชีบวชเพราะศรัทธา ครอบครัวมีความสัมพันธ์กับทางวัดและต้องการศึกษาต่อ สถานภาพของแม่ชีธรรมกายโดดเด่นกว่าแม่ชีกลุ่มอื่น ๆ เป็นผู้แนะนำปรึกษาปัญหา แม่ชีผู้บริหารพัฒนามาจากแม่ชีนักเรียน แม่ชีโรงครัวมีจำนวนมากที่สุดในวัด มีทัศนคติเรื่องความเป็นหญิงต่ำต้อยกว่าชาย แม่ชีศาลามีสถานภาพยืดหยุ่นกว่าแม่ชีกลุ่มอื่น แนวทางการพัฒนาสถานภาพของแม่ชี รัฐควรสนับสนุนงบประมาณการศึกษา สถานภาพทางกฎหมายและส่งเสริมกิจการของแม่ชีไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. การศึกษาเรื่องผู้หญิง. กรุงเทพฯ: โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา, ๒๕๓๕.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. พุทธศาสนากับสิทธิสตรี. http://www.duangden.com/ Buddhism/Faminism
ประเสริฐ ทองเกตุ. เหตุผลการตัดสินใจบวชและความต้องการการศึกษาของแม่ชีไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาการศึกษานอกโรงเรียน, ๒๕๓๔.
พระเทพกวี. “ภารกิจแม่ชีไทยในโลกยุคใหม่.” วารสารสายธารแห่งธรรม (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๔๗) : ๓๐-๓๕.
พระไพศาล วิสาโล. พุทธศาสนาไทยในอนาคต: แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, ๒๕๔๖.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก วินัยปิฎก เล่ม ๖ จุลวรรคปฐมภาค และ อรรถกถา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
สมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ (ผู้รวบรวม). ตรีธาเล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๕.
สิทธิศักดิ์ การัมย์, พระมหา. บทบาทของแม่ชีในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชน ศึกษาวิเคราะห์ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สวนแก้วและศึกษาธรรมจาริณีปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสังคมศาสตร์, สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ, ๒๕๔๗.
อมรา พงศาพิชญ์ (บ.ก.). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๘.
ภาษาอังกฤษ
Piyadassi. Thera the spectrum of Buddhism. N.Y.: Staten Island, 1991.