รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมพอเพียงวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมพอเพียงวิถีพุทธ” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสำคัญของหลักคิหิสุข และหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๒) เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุ และผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมไม่พอเพียงในสังคมไทยยุคบริโภคนิยม รูปแบบการปฏิบัติตามหลักคิหิสุขและหลักเศรษฐกิจพอเพียงของคนในสังคมไทย ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมพอเพียงวิถีพุทธในสังคมไทย ผลการวิจัย ดังนี้
พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง โดยจำแนกออกเป็นปัญหาด้านการขาดปัจจัยดำรงชีพ ปัญหาด้านการขาดการพัฒนาศักยภาพที่เพียงพอสำหรับแก้ปัญหา รวมถึงปัญหาด้านการสร้างภาระหนี้สินซ้ำเติมตนเองและครอบครัว ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อปัจเจกชน และสังคมเป็นวงกว้างโดยสะท้อนผ่านปัญหาเศรษฐกิจ สังคม อาชญากรรม และการล้มละลายของสถาบันครอบครัว
การแก้ปัญหาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนไทยในสังคมปัจจุบันนั้น จะต้องใช้หลักปฏิบัติที่มีลักษณะส่งเสริมพฤติกรรมพอเพียง ประกอบด้วยหลักคิหิสุข หลักเศรษฐกิจพอเพียง และหลักธรรม เช่น หลักไตรสิกขา หลักสันโดษ หลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ หลักสัปปุริสธรรม ซึ่งมีลักษณะ ๓ ด้าน ได้แก่ สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างรูปแบบปฏิบัติที่ถูกต้อง และสร้างทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมพอเพียงตลอดชีวิต
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สัมภาษณ์เลี่ยม บุตรจันทา.ปราชญ์ชาวบ้านชุมชนบ้านนาอีสานเจ้าของบ้านสวนออนชอน หมู่ที่ ๑๖ ตำบลท่า กระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา,๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๒.
สัมภาษณ์อภิวรรษ สุขพ่วง. เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี ๒๕๖๐ ไร่สุขพ่วง บ้านเลขที่๑๐๗ หมู่ ๑๐ ตำบลจอม บึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี, ๒๒ ธค. ๒๕๖๒.