เต๋า : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาธีระยุทธ ปราชญนิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้เขียนมุ่งการศึกษาเต๋าเชิงวิเคราะห์ ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้เขียนพบหัวใจหลักสำคัญของ เต๋า คือ ‘ปัจจัยเหตุ’ เหลาจึ เองแสดงแนวคิดว่าเต๋ามีอาการคลุมเครือยุ่งเหยิงจนไม่สามารถบ่งชี้ถึงเต๋าว่าคืออะไรแน่ ผู้เขียนขอตอบแทนเหลาจึว่า เต๋า คือ อวิชชาที่เป็นหนึ่งในปัจจัยเหตุทั้งหลาย เพราะอาการดังกล่าวเป็นอาการของอวิชชา เมื่อ เต๋า เป็นมูลเหตุให้เกิดหนึ่ง หนึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิดสอง สองเป็นมูลเหตุให้เกิดสาม และสามเป็นมูลเหตุให้เกิดสรรพสิ่ง ผู้เขียนขอเสนอว่า เต๋า คือ ปัจจัยเหตุที่เป็นปรมัตถ์ มีอวิชชาเป็นมูลเดิมที่เป็นหนึ่ง ให้เกิดสองพลังชีวิตปรากฏออกเป็น จิตกับกาย และสองนี้เกิดจากมูลเหตุสาม สามนี้เป็นเจตนากรรมสามอย่างเป็นมูลเหตุให้เกิดสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ที่มีปัจจัยเหตุเหล่านั้นปรุงแต่งสำเร็จเป็นสังขตธรรมโดยกฎธรรมชาตินิยาม ๕ สรรพสิ่ง ส่งผลให้การดำรงชีวิตประจำวันอยู่อย่างมีคุณค่า เพราะต้องตระหนักการส่งผลของอกุศลกรรม จนเกิดเป็นการตัดสินที่ยุ่งยาก (Moral Dilemma) เป็นต้น เต๋า จึงถูกไตรลักษณ์คือ อนิจจํ ทุกขํ อนัตตา เข้าครอบงำที่เป็นไปตามหลักพุทธปรัชญา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จ้าวเมี่ยวกว่อ, คัมภีร์เต้าเต๋อจิง ฉบับประยุกต์ใช้ (ปรับปรุงใหม่), กลิ่นสุคนธ์ วงศ์สุนทร แปล, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด, ๒๕๕๓).
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, เต๋า : ทางแห่งธรรมชาติ, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๙).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธัทถเถระ, สารสังคหะแปล ชุด ๕ พระมหาธีระยุทธ เขมธมฺโม (ปราชญ์นิวัฒน์) แปล, (กรุงเทมหานคร : ๒๕๓๗)
เหลาจื่อ, วีถีแห่งเต๋า, พจนา จันทรสันติ แปลและเรียบเรียง, (กรุงเทพมหานคร : โอเพ่น โซไซตี้, ๒๕๖๒).