ธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรตามหลักพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรตามหลักพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ๓ ข้อ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร ธุรกิจเพื่อสังคม สภาพปัญหาและอุปสรรคของของธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตร (๒) เพื่อศึกษาการนำหลักพระพุทธศาสนามาเชื่อมโยงกับธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ (๓) เพื่อศึกษาธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพระพุทธศาสนาของสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก In- depth Interview และการสนทนากลุ่มเฉพาะ Focus Group Discussion ผลการศึกษาวิจัยบทความวิจัยเรื่อง ธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรตามหลักพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร ธุรกิจเพื่อสังคม สภาพปัญหาและอุปสรรคของของธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตร (๒) เพื่อศึกษาการนำหลักพระพุทธศาสนามาเชื่อมโยงกับธุรกิจเพื่อสังคมของสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ (๓) เพื่อศึกษาธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพระพุทธศาสนาของสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก In- depth Interview และการสนทนากลุ่มเฉพาะ Focus Group Discussionผลการวิจัยพบว่า
การจัดตั้งสหกรณ์ (co-operative) เนื่องจากเกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ทำให้มีต้นทุนแพง แต่ขายผลผลิตได้ในราคาที่ต่ำ มีหนี้สินฐานะยากจน และความไม่แน่นอนจากธรรมชาติ สหกรณ์การเกษตรหรือสหกรณ์อื่นๆถือเป็นองค์กรหรือสมาคมทางเศรษฐกิจที่ประชาชนหรือสมาชิกร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมใจและร่วมลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่มวลหมู่สมาชิกทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด สหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ในการขับเคลื่อน คือ ศีล ๕ พรหมวิหาร ๔ สังคหวัตถุ ๔ และอิทธิบาท ๔ มาใช้ในการบริหารคน บริหารเงิน บริหารงาน
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐ - ๒๕๕๖.
ชาญชัย คุ้มปัญญา, “สถานการณ์โลก”, ไทยโพสต์, ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๘๐๐๙ (วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖): ๙.
เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ “สหกรณ์ชั้นนำของไทย เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน”, หน้า๔-๕.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยพัฒน์, ๒๕๕๖), หน้า ๒-๓.
กลุ่มเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมสหกรณ์, การสหกรณ์ในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด สาขา ๔, ๒๕๕๕), หน้า ๑๐.
สถาบันไทยพัฒน์, เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจ, (กรุงเทพมหานคร: บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น, ๒๕๕๔). หน้า๕.
สัมภาษณ์ นายชูชาติ อินสว่าง, อดีตกรรมการผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑.
ส่วนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์, การสหกรณ์ในประเทศไทย, (ม.ป.ท.: ม.ป.ป.).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปันเป็นธรรมทาน, ๒๕๔๘.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. การสหกรณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๕.
กลุ่มเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมสหกรณ์. การสหกรณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัดสาขา ๔, ๒๕๕๕.
John Elkington, Triple Bottom line, Cannibal With Forks, 1997.