ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์

Main Article Content

ดร.ณัจฉรียา คำยัง
พันธ์เครือ ขอนยาง
ปรียนันท์ แจ่มเจริญ
เกษรินทร์ สาโสก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ เก็บข้อมูลจากพระสงฆ์จำนวน ๑๔๗ รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พระสงฆ์มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกหลักอนามัย และมีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับปานกลาง (=๓.๑๗, S.D.=๑.๐๐ ) โดยพบพฤติกรรมการบริโภคภัตตาหารเช้าจากการบิณฑบาต และอาหารปรุงสุกใหม่จากแม่ครัว บริโภคผัก และผลไม้ตามฤดูกาลในระดับมาก พฤติกรรมการบริโภคภัตตาหารเพล อาหารจำพวกแกง ของหมักดอง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการบริโภคในระดับต่ำ เรื่องการบริโภคข้าวเหนียว และพบปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของอายุ พรรษา และระดับการศึกษาสูงสุดทางธรรมของพระสงฆ์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ (r=๐.๒๒, ๐.๑๗๖ และ ๐.๔๒๖ ตามลำดับ) และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพในเรื่องการมีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์ (r=๐.๔๕๑)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก.นราธโร. ปาฏิโมกขสังวรศีล. ขอนแก่น: ธรรมะอินเทรนด์; ๒๕๕๗.

กุลวดี เข่งวา. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; ๒๕๕๙.

จงจิตร อังคทะวานิช. ตักบาตร ถาม (สุขภาพ) พระ. อินเทอร์เน็ต. ๒๕๖๒ สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒. จาก: http://www.thaihealth.or.th.

ชุมพล ตันวัฒนเสรี และลุยง วีระนาวิน. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ๒๕๕๗; ๒๕(๓): ๔๘-๕๘.

ณัจฉรียา คำยัง, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, อนามัย เทศกะทึก และสุนิศา แสงจันทร์. สถานการณ์และการจัดการอาหารที่มีฉลากระบุวันหมดอายุภายในวัดพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ๒๕๖๐; ๑๓(๒): ๘๔-๙๖.

ทองดี สุรเตโช, พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด. อินเทอร์เน็ต. ๒๕๖๒.สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒. จาก: http://www.schoolnet.net.th/library/create-web/1000/religion/1000-4567.html.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: สุวีริยยสาสน์; ๒๕๕๓.

มินตรา สาระรักษ์, วรารัตน์ สังวะลี และวิลาศ คำแพงศรี. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ๒๕๖๐; ๑๙(๑): ๓๗-๔๘.

โมลี วนิชสุวรรณ. สภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ๒๕๕๑; ๑๗: ๘๙๗-๙๐๓.

รุ่งฟ้า โต๊ะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกรั้วโรงเรียนของนักเรียนในสังกัดสานักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. ๒๕๕๘; ๘(๓): ๗๘๑-๗๙๒.

ศนิกานต์ ศรีมณี,ชนิดา มัททวางกูร, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงส์ไกรเลิศ และนารี รมย์นุกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; ๒๕๕๖.

ศราวิณ ผาจันทร์ และเบญจา มุกตพันธุ์. ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนคริทร์เวชสาร.๒๕๕๘; ๓๐(๖): ๕๕๒-๕๖๑.

ศรีบังอร สุวรรณพานิช. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสถาบัน.การพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่.วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. ๒๕๕๕; ๔(๑): ๒๙-๔๑.

สุวัฒสัน รักขันโท และคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุในเขตภาคใต้ตอนบน. (รายงานวิจัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; ๒๕๕๑. ๗๕.