การใช้หลักสัปปุริสธรรมและเครื่องมือการจัดการต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย

Main Article Content

ชลิต ผลอินทร์หอม
ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของการใช้เครื่องมือการจัดการต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของกิจการในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed methods) โดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พบว่าในสภาวะการแข่งขันทางการค้าทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบการผลิตและการบริหารให้ยืดหยุ่นตามสภาพการตลาด จึงก่อให้เกิดการนำเอาแนวคิดของการบริหารต้นทุนยุคใหม่ที่นำมาบูรณาการใช้ร่วมกับ หลักการบริหารเชิงพุทธศาสตร์มิได้มุ่งหวังกำไร หรือการแข่งขัน เพียงอย่างเดียว แต่ได้บรรจุหลักการที่สร้างความยั่งยืน การไม่เบียดเบียน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ มีความเมตตาต่อกัน และรู้เท่าทันโลก โดยมิได้ปฎิเสธกระแสโลกาภิวัตน์ หรือระบบทุนนิยมในปัจจุบัน แต่ให้ยึดหลักการอยู่ร่วมกันและรู้เท่าทันโลก หลักสัปปุริสธรรม ที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการ มี ๗ ประการ คือ  ๑. ธัมมัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักเหตุ) ๒. อัตถัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักผล) ๓. อัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักตน) ๔. มัตตัญญุตา (ความผู้รู้จักประมาณ) ๕. กาลัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักกาล) ๖. ปริสัญญุตา(ความเป็นผู้รู้จักบริษัท) ๗. ปุคคลัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบุคคล) มาทำการพัฒนาหลักการและการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้เครื่องมือในการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ถือเป็นเครื่องมือต้นทุน นำมาเป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงข้อมูลหลักและข้อมูลรองในการปฏิบัติงาน สำหรับสิ่งที่จะมาช่วยในการตัดสินใจว่าผู้ประกอบการหรือองค์การนั้น ๆ สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้เหนือกว่าคู่แข่งแล้วหรือไม่ สามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของกิจการ รวมถึงการนำไปสู่โอกาสในการทำกำไร และอุปสรรคต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต โดยสามารถทำให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย