บูรณาการการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล
สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ๒)  เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ๓)  เพื่อบูรณาการการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างความรู้เกี่ยวกับ “รูปแบบบูรณาการการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม” มีวิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Qualitative Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) แบบเจาะจงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต


ผลการวิจัยพบว่า การวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต กำหนดแผนการพัฒนาชีวิต ๓ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย (แรกเกิดจนถึงอายุ ๒๕ ปี)  ในวัยนี้ได้แบ่งระดับพัฒนาการออกเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงอายุแรกเกิด – ๑๐ ขวบ ช่วงอายุ ๑๑ – ๑๕ ขวบ และช่วงอายุ ๑๖ – ๒๕ ปี ระดับมัชฌิมวัย (ตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี ถึง ๖๐ ปี)  ระดับปัจฉิมวัย (ตั้งแต่อายุ ๖๑ ปีขึ้นไป) หลักพุทธธรรม ที่เหมาะสมทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย เป็นช่วงที่แสวงหาความสำเร็จและกำหนดเป้าหมายชีวิตของตนเอง การวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นฐานหลักพุทธธรรมที่เหมาะสม คือ มงคลชีวิตข้อที่ ๑ –๑๐  หลักธรรมที่สนับสนุนคือ หลักทิศ ๖ และ อิทธิบาท ๔ ระดับมัชฌิมวัย ช่วงชีวิตที่ต้องสร้างฐานชีวิตและครอบครัวและหน้าที่การงานให้มีความมั่นคงจนถึงการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ผู้สูงวัย หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมคือ มงคลชีวิตข้อที่ ๑๑ – ๓๐ หลักธรรมที่สนับสนุนคือ สัปปุริสธรรม ๗  ระดับปัจฉิมวัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมพร้อมรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังขาร แสวงหาความสงบสุขบั้นปลายของชีวิต หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมคือ มงคลชีวิตข้อที่ ๓๑ – ๓๘ หลักธรรมที่สนับสนุนคือ ภาวนา ๔ พรหมวิหารธรรม อริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ สำหรับองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับ รูปแบบการบูรณาการการวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม คือ SDSW : MODEL

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในการจัดงานแลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี (๒๕๔๙). ฉบับครบรอบ ๒๐๐ ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุเชาว์ พลอยชุม. รศ. (๒๕๔๔). เอกสารประกอบการสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, ๒๕๔๔.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔.

Faludi, A. (1984) Planning Theory. 4th edition. Urban and Regional Planning Series. Volume 7. Oxford: Pergamon Press,

Havighurst, R.J. Developmenttal Tasks and Education. 2nd &3rd ed. New York : David Mckay.