บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่

Main Article Content

ประสาทธรรม์ เหลือจันทร์
พระเมธาวินัยรส ปวิสิโก
พระสุทธิสารเมธี พระสุทธิสารเมธี

บทคัดย่อ

                                                                บทคัดย่อ


บทความวิจัยเรื่องบูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ เพื่อบูรณาการด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ และ เสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ “รูปแบบบูรณาการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าอาวาสที่มีประสบการณ์การบริหารจัดการสาธารณูปการ รวมจำนวน ๒๐ รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายเชิงพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า งานสาธารณูปการของคณะสงฆ์เพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์ วางแผนปรับปรุง การพัฒนารวมไปถึงการทําวัดให้สะอาดร่มรื่น ดูสวยงามให้เป็นศาสนสถานที่สัปปายะ ปัญหาที่พบ ขาดระเบียบการงบประมาณ การสาธารณูปการทั้งศาสนสถาน บุคคลและวัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ในแต่ละวัดยังมีสภาพไม่พร้อม ไม่สามารถตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ ขาดการวางแผน การจัดทีมงาน การก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์ โบสถ์ กุฏิเสนาสนะ ศาลาการเปรียญ ที่ผิดจากรูปแบบดั้งเดิม


            การบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ บุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเน้นการวิเคราะห์องค์การเชิงระบบความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม ใช้ ๓ ทักษะจัดการ คือ  ทักษะเชิงเทคนิค ทักษะเชิงมนุษย์และทักษะเชิงมโนมติ มีผลดี คือการกระจายอำนาจ  ระบบการวางแผน การจัดผังวัดตามระเบียบแบบแผน มีเครือข่ายกองทุนมูลนิธิสนับสนุนช่วยเหลือกัน การดูแลสุขพลานามัยด้วยกิจกรรม ๕ ส  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากนิเวศวิทยาแนวลึก  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเป็นระบบด้วยภูมิสถาปัตยกรรม ทำวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้ด้วยการจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด บูรณาการการบริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์ด้วยการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ ที่เน้นบุคลากร การวิเคราะห์องค์การเชิงระบบ สำรวจจุดแข็ง จุดอ่อน วิกฤติและโอกาส จัดเรียงปัญหาความสำคัญเร่งด่วน เลือกวิธีการแก้ปัญหา ตรวจสอบและพัฒนาวิธีการ จนได้รูปแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่ คือ “PSDH MODEL”


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจกรรมวัดสร้างสุข ณ วัดสุทธิวนาราม. DMC ประจำวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖, สืบค้น ๑๗/๐๖/๒๕๖๑http://m.dmc.tv/dhamma/index.php?action= page&id=16433.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

พระราชวรเมธี,ดร.และคณะ. แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ๒๕๖๐ ถึง ๒๕๖๔ การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ. สำนักงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๖๐.

เมตตา : การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ขององค์กร (SWOT) สืบค้นเมื่อ. ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐.

<http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php? pageid=6&bookID=344&read=true&count=true >. (2007).

วสุ โปษยะนันท์ ดร.. การจัดการภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมของวัดไทยให้เกิดความเจริญศรัทธา : จากอดีตสู่ปัจจุบัน. ส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษา. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๘.

สัมภาษณ์เจ้าอาวาสวัดกลุ่มตัวอย่าง. . ”บริหารจัดการสาธารณูปการของคณะสงฆ์”. ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ถึง ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑.

สัมภาษณ์เจ้าอาวาสวัดกลุ่มตัวอย่าง. ”บริหารจัดการสาธารณูปการสมัยใหม่”. ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ถึง ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑.

พระไพศาล วิสาโล. ถ้าไม่ปฏิรูปวงการสงฆ์ระวังถึงจุดเสื่อม. สืบค้นเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙. จาก https://www.visalo.org/columnInterview/html.

Intongpan. Praves.(2010), The comparative study of ecology in Buddhist philosophy and deep ecologyin view of Arne Naess. Journal of Humanities. Kasetsart University.17(2).