The การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

Main Article Content

พระมหาปราโมทย์ วิริยธมฺโม แก้วนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องการปฏิบัติการสอบอารมณ์กรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติกรรมฐานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนถือเป็นสารัตถะสำคัญของความเป็นชาวพุทธมีตั้งแต่สมัยโบราณจนทำให้เกิดวัฒนธรรมทางจิตใจ ค่านิยม อุดมคติของชาวพุทธในสังคม ที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักคือ ไทย สหภาพเมียนม่าร์ กัมพูชาและประชาธิปไตยประชาชนลาว ต่างได้รับอิทธิพลหลักคำสอนและการปฏิบัติกรรมฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่ต่างกันคือ บางสำนักเริ่มต้นด้วยวิปัสสนา บางสำนักเริ่มต้นด้วยสมถะแต่เป้าหมายคือการรู้แจ้งความจริง ที่นิยมกันมากคือการใช้สติสัมปชัญญะกำหนดรู้เท่าทันสภาวธรรมที่กำลังปรากฏในขันธ์ห้า อิริยาบถหลักและย่อยจนจิตสงบจากนั้นยกจิตให้รู้ทันความเป็นปรมัตถ์ ส่วนการสอบอารมณ์กรรมฐานไม่ได้เป็นไปอย่างเป็นระบบ การสอบอารมณ์กรรมฐานคือกระบวนตรวจสอบ สนับสนุนหรือแก้ไขให้การปฏิบัติกรรมฐานดำเนินไปสู่เป้าหมาย ได้รูปแบบจากสหภาพเมียนม่าร์ซึ่งมีคัมภีร์และสืบทอดการสอบอารมณ์มาจากอดีตอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน บางสำนักไม่ใช้วิธีการแบบทางการ แต่อาศัยการสนทนาหรือการเทศน์สอนให้แก้ไขด้วยตัวเอง ด้วยเห็นว่าการพูดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติบัญญัติอาจนำไปสู่การยึดติดความคิด หลักการ จนละเลยสภาวะปรมัตถธรรมที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ แต่โดยมากตั้งอยู่ในกรอบของหลักคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก


 


คำสำคัญ : กรรมฐาน การสอบอารมณ์ ประเทศสมาชิกอาเซียน อิริยาบถ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย