การสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ

Main Article Content

ไตรรัตน์ ธนะประกอบกรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม ๓) เพื่อบูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ และ๔) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ “รูปแบบการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมจากข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนาและสันติศึกษา รวมจำนวน ๒๐ รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาอธิบายเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า


๑. แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม เป็นวิธีการสร้างให้สังคมให้เกิดความสงบ     มี ๒ แนวคิด คือ ๑) การสร้างสันติประชาคมตามทัศนะต่าง ๆ ได้แก่ (๑) การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน (๒) การไม่ใช้ความรุนแรงในการเรียกร้องสิทธิ และ (๓) การเจรจาไกล่เกลี่ย ๒) การสร้างสันติประชาคมตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ (๑) การระงับความขัดแย้งด้วยหลักอธิกรณสมถะ (๒) การพัฒนากาย จิต และปัญญาด้วยหลักไตรสิกขา และ (๓) การสร้างความเมตตา ความสามัคคีในสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม


๒. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคม มีหลักธรรม ๖ ประการ ได้แก่ หลักไตรสิกขา เป็นหลักพัฒนากาย จิต ปัญญาของตนเอง หลักสาราณียธรรม หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักเชื่อมความเมตตา ความสามัคคีของคนในสังคมเข้าด้วยกัน หลักกัลยาณมิตร หลักโยนิโสมนสิการ และหลักอภัยทาน เป็นหลักที่ใช้ระงับความขัดแย้ง


๓. บูรณาการการสร้างสันติประชาคมตามแนวพุทธ มีการสร้าง ๔ ขั้นตอน คือ ๑) การสร้างสันติทางกาย ๒) การสร้างสันติทางจิต ๓) การสร้างสันติทางปัญญา ทั้ง ๓ ข้อนี้สร้างด้วยหลักไตรสิกขา และ๔) การสร้างสันติทางสังคม สร้างจากบุคคลภายในครอบครัว ไปสู่ชุมชน และสังคมโลก   มีการสร้าง ๒ แนวทาง คือ ๑. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักสาราณียธรรมและหลักอปริหานิยธรรม โดยให้บุคคลทุกสถานภาพทางสังคมมีการปฏิบัติต่อกันด้วยดี ๒. การสร้างสันติทางสังคมด้วยหลักไกล่เกลี่ยคนกลางเข้ามาระงับความขัดแย้งในสังคม ประกอบด้วยหลักธรรม ๓ ประการคือ ๑. หลักกัลยาณมิตร ๒. หลักโยนิโสมนสิการ ๓. หลักอภัยทาน และ


๔. รูปแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการสร้างสันติประชาคมแนวพุทธ คือ “CPAP MODEL”

Article Details

บท
บทความวิจัย