แนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของพระสงฆ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

Phra U พระหน่อแลง แตชะญาณ Tejanyana

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (๒) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (๓) เพื่อเสนอแนวทางของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นวิจัยเอกสารด้วยการพรรณนาและสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้สร้างอัตลักษณ์เฉพาะของตนขึ้นมาโดยใช้ความศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นแกนหลักในการสร้าง“รัฐชาติ”ด้วยพลังแห่งจิตสำนึกร่วม ๖ ประการ คือ การสืบสายเลือดเดียวกัน การมีเผ่าพันธุ์ร่วมกัน  มีกลุ่มภาษามาจากรากเหง้าเดียวกัน มีศาสนาเดียวกัน มีพื้นฐานดินแดนเดียวกัน และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมร่วมกันจนทำให้ชาตินิยมใน ๓ มิติ คือ (๑) มิติทางประวัติศาสตร์ (๒) มิติศาสนา (๓) มิติดินแดนโดยมีพระสงฆ์ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแกนหลักสร้างและอนุรักษ์อัตลักษณ์ ๖ ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านวัฒนธรรม  ด้านศิลปะ  ด้านอาหาร ด้านเครื่องแต่งกายและ ด้านการเป็นอยู่

Article Details

บท
บทความวิจัย