คัมภีร์มูลสิกขา-มูลสิกขาฎีกา : การแปล และวิเคราะห์

Main Article Content

วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญของคัมภีร์มูลสิกขาซึ่งรจนาโดยพระมหาสามิเถระ ชาวสิงหล และคัมภีร์มูลสิกขาฎีกา รจนาโดยพระวิมลสารเถระ ชาวสิงหลเช่นกัน คัมภีร์ทั้ง ๒ มีโครงสร้างการอธิบายพระวินัยจำนวน ๖ หัวข้อ คือ
๑) ปาราชิกนิทเทส  ๒) ครุกาบัตินิทเทส  ๓) นิสสัคคียนิทเทส ๔) ปาจิตติยนิทเทส
๕) ปกิณณกนิทเทส ๖) วัตตาทิกัณฑนิทเทส พระเถระทั้ง ๒ รูปได้อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากพระวินัยปิฎก อรรถกถาพระวินัย ขุททสิกขาอภินวฎีกา เพื่อความสมบูรณ์ในสิกขาบทแต่ละข้อ ส่วนการวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์มูลสิกขา-มูลสิกขาฎีกาที่มีต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๗ ส่วนคือ  ๑) คุณค่าด้านการอธิบายพระวินัยที่ผู้แต่งอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับพระวินัยเพิ่มเติมคือ  ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๑๒ ปาจิตตีย์ ๒๓ รวมเป็น ๔๖ ข้อ จากศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ ๒) คุณค่าด้านความสามัคคีของหมู่คณะสงฆ์ ๓) คุณค่าด้านความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ๔) คุณค่าด้านความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ๕) คุณค่าด้านเป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น ๖) คุณค่าด้านอานิสงส์และผลทางพระวินัย ๗) คุณค่าด้านการเรียนการสอนพระวินัย

Article Details

บท
บทความวิจัย