The การพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยา สำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยสยาม ๒) สร้างโปรแกรมจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ๓) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยาในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ มหาวิทยาลัยสยาม ในการศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน มีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีผลการศึกษาวิจัย พบว่านักศึกษาพยาบาลของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ก่อนการทดลองเท่ากับ ๓.๐๖ หลังการทดลองเท่ากับ ๒.๔๒ ผลการเปรียบเทียบความเครียดของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๐๑ และจากการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มกับผู้เข้าอบรมจำนวน ๘ ท่าน ภายหลังการเข้าโปรแกรมการจัดการความเครียดตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่าในการลดความเครียดขณะฝึกปฏิบัตินักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้ การหายใจ การเจริญสติ การให้การปรึกษาแบบกลุ่มเชิงพุทธทำให้เข้าใจตนเองและบุคคลอื่นมากขึ้น ทำให้สามารถจัดการกับความเครียดได้
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป