พุทธจิตวิทยาการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในเพลงลูกทุ่งไทย

Main Article Content

Jumnong Chaimongkol

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง เนื้อหา องค์ประกอบและกระบวนการของเพลงลูกทุ่งไทยเชิงพุทธจิตวิทยาทั้งหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของเพลงลูกทุ่งไทย เพื่อสังเคราะห์เชิงบูรณาการ หลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในบทเพลงลูกทุ่งไทย และเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและความสุขเชิงพุทธจิตวิทยาในบทเพลงลูกทุ่งไทย  เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทางด้วยพุทธจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญในการใช้ดนตรี จำนวน ๑๗ รูป/คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาสถาบันเทคโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน ๔๔๐ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อห้า และการวิคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน ประกอบด้วยการทดสอบค่าที t-test ค่า F-test  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า  พุทธจิตวิทยาการพัฒนาคุณธรรมและความสุขในเพลงลูกทุ่งไทยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาในกระบวนการอริยสัจจ์ ๔ คือ ในแง่ของเนื้อหาสาระเพลง  ผู้ประพันธ์ได้บรรยายสภาพปัญหาหรือทุกข์ของสังคม สาเหตุหรือสมุทัยของปัญหา  การพ้นจากปัญหา คือ นิโรธ แนวทางที่ทำให้พ้นจากสภาพปัญหา การแต่งเพลงตามกระบวนแห่งอริยสัจจ์ คือ การกำหนดปัญหาได้ครอบคลุม  การรู้เหตุผลของประเด็นที่จะนำเสนอ การชี้ทางออก  และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาหรือทางออกของปัญหา และเพราะเหตุที่เพลงลูกทุ่งไทยมีความหลากหลายยืดหยุ่นทั้งในแง่ของเนื้อหา เป้าหมายและวิธีการ จึงทำให้เพลงลูกทุ่งไทยสามารถที่จะสังเคราะห์เชิงบูรณาการเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงบวกได้หลากหลายสอดคล้องกับกาลเทศะตามหลักพุทธจิตวิทยาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย