การบูรณาการรูปแบบการพัฒนาจิตของสำนักกรรมฐานในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการบูรณาการรูปแบบการพัฒนาจิตของสำนักกรรมฐานในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ๑) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาจิต ๒) วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาจิตและพัฒนาการของ ๕ สายปฏิบัติในสังคมไทย ๓) เพื่อบูรณาการรูปแบบการพัฒนาจิต ๕ สาย มีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกและการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติ มีผลการศึกษาวิจัยดังนี้ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาจิตในพระไตรปิฎกปรากฏในรูปกระบวนการตามหลักไตรสิกขา โดยมีวิธีการพัฒนาจิตที่เป็นขั้นตอนปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตรและสติปัฏฐานสูตร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมีวิธีการเจริญสมาธิด้วยกรรมฐาน ๔๐ วิธี ต่อด้วยการเจริญวิปัสสนาตามหลักญาณ ๑๖ ซึ่งการปฏิบัติในคัมภีร์มีเป้าหมายเพื่อการบรรลุมรรค ผลและนิพพาน สำหรับรูปแบบการพัฒนาจิตของต้นสายทั้ง ๕ ส่วนใหญ่จะเน้นการสอนแบบเข้ม ตามแนวทางในคัมภีร์ เพื่อมุ่งสู่การกำจัดกิเลส ในปัจจุบัน มีการสอนพัฒนาจิตแบบพื้นฐานที่มุ่งให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และปรับเทคนิควิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมกับคนยุคปัจจุบัน ผลจากการบูรณาการพบว่า ควรมีการแบ่งรูปแบบของการพัฒนาจิตตามกลุ่มบุคคลและจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ โดยมีกระบวนการฝึกที่แตกต่างกัน เป็น ๔ ระดับ คือ ๑) ระดับการพัฒนาจิตสำหรับผู้เริ่มต้น ๒) ระดับการพัฒนาจิตในชีวิตประจำวัน ๓) ระดับการพัฒนาจิตแบบเข้ม และ ๔) ระดับการสร้างอาจารย์ผู้สอนการพัฒนาจิต
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป