วิเคราะห์ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยาในเชิงปรัชญา

Main Article Content

Phrakrukosalasasanapundit (Grissana Buchagul)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังคมไทยในประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาวิเคราะห์สังคมไทยในประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยาในเชิงปรัชญา และเพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร(Document Research) นำทฤษฎีทางปรัชญามาพรรณนาประกอบกับข้อมูลที่รวบรวมได้ ผลการวิจัยพบว่าสังคมไทยในประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยาฯ เป็นสังคมที่อยู่กันแบบง่ายๆ ตามสภาพแวดล้อมในสมัยนั้น มีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ผู้วิจัยได้ศึกษาเน้นไปใน ๓ ด้าน คือด้านการศึกษา ด้านการปกครอง และด้านความยุติธรรม สำหรับการวิเคราะห์สังคมไทยในประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยาฯในเชิงปรัชญานั้นพบว่า คนไทยในสังคมไทยสมัยนั้นมีพฤติกรรมในเชิงปรัชญาหลายสาขา เช่น สาขาอภิปรัชญา สาขาญาณวิทยา สาขาจริยศาสตร์ และสาขาสุนทรียศาสตร์จากการวิเคราะห์ด้านคุณค่า ผู้วิจัยเห็นว่ามีคุณค่าด้านการศึกษา มีคุณค่าด้านการปกครอง มีคุณค่าด้านความยุติธรรม เอกสารนี้ได้แสดงออกถึงความมีคุณค่าด้านการศึกษาไว้คือคุณค่าแบบจำเป็น ถ้าขาดการศึกษาแล้วสังคมจะไม่อาจดำรงอยู่อย่างสงบสุขได้ คุณค่าตามแนวคิดประโยชน์นิยม ชี้ให้เห็นว่าการศึกษามีประโยชน์มากต่อคนจำนวนมาก สังคมใดๆจะขาดการศึกษาไม่ได้ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย