กระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา

Main Article Content

Wallop Manee chedta

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิวัฒนาการและกระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาปัจจัย เงื่อนไข ผู้เรียน ผู้สอนและชุมชนที่ให้การสนับสนุนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ทำการสัมภาษณ์ สังเกตผู้เรียน ผู้ถ่ายทอด ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการหาข้อสรุปแล้วนำเสนอด้วยการบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า วิวัฒนาการและกระบวนการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา ในอดีตวัดมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนา โดยอาศัยขั้นตอนของการบวชใน พุทธศาสนาเพื่อจัดการศึกษา ภายใต้การกำกับดูแลจากพระผู้เป็นอาจารย์ให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด เนื้อหาส่วนใหญ่จึงเน้นในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ ส่วนใหญ่การเรียนจะเน้นในด้านการอ่านออกเขียนได้ เพื่อใช้ในด้านการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ หลังจากการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.๒๔๔๒ในอาณาจักรล้านนา มีการศึกษาสมัยใหม่เข้ามาวัด วัดจึงลดบทบาททางการศึกษาอักษรธรรมลงไป การอนุรักษ์จะมาจากผู้ที่มีความหวงแหน ผู้ที่เห็นคุณค่า ผู้มีความห่วงใย ปัจจุบัน  การถ่ายทอดอักษรธรรมล้านนายังคงมีอยู่ในวงแคบคือ ในบางวัด หมอยาพื้นบ้าน พ่อหนาน  พ่อครู แม่ครู ปราชญ์ชาวบ้าน และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Article Details

บท
บทความวิจัย