แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นกัลยาณมิตรสำหรับเยาวชน ตามหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะการเป็นกัลยาณมิตรสำหรับเยาวชนตามหลักพุทธธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอเสนอองค์ความรู้คุณลักษณะการเป็นกัลยาณมิตรสำหรับเยาวชนตามหลักพุทธธรรม ได้ผลการวิจัย ดังนี้ ด้านสภาพคุณลักษณะความเป็นกัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนา พบว่า การปฏิบัติตามหลักกัลยาณมิตรของเยาวชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเป็นคนรู้จักพูด หรือพูดจาดี (วัตตา) (=๓.๙ ) และมีความคิดเห็นอันดับต่ำที่สุดคือ ด้านการเป็นคนกล่าวเรื่องที่ลึกซึ้งได้ (คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา) (= ๓.๗) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ในปัจจุบันนี้เยาวชนไทย มีความอ่อนน้อมถ่อมตนน้อยลงไปมาก มีความกระด้าง มีความเป็นกัลยาณมิตรที่น้อยลง สนใจแต่เรื่องของตนเอง และอยู่กับเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีความอดทน เบื่อง่าย ไม่ชอบฟังการอบรมสั่งสอนจากบุคคล เวลาส่วนใหญ่จะอยู่กับสมาร์ทโฟน ความน่ารักระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ลดลง ไม่มีสัมมาคารวะ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล อารมณ์รุนแรง เชื่อเพื่อน ไม่เชื่อผู้ปกครอง ไม่คิดถึงอนาคต ไม่เรียนหนังสือ ติดเกมส์ ติดพนัน ปัญหาเรื่องการปรับตัว ปัญหาทางเพศ การใช้ยาเสพติด มีโรคซึมเศร้า เป็นต้น ด้านองค์ความรู้คุณลักษณะการเป็นกัลยาณมิตรสำหรับเยาวชนตามหลักพุทธธรรม สรุปได้เป็นผลการวิจัยที่เรียกว่า SBMW MODEL FOR GOOD FRIEND QUALITY อันเป็นแนวคิดในการบูรณาการคุณลักษณะของความเป็นกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ ด้านปิโย (น่ารัก หรือเป็นที่รัก) ด้านครุ (น่าเคารพ) ด้านภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่องในฐานทรงคุณ) ด้านวัตตา (รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ) ด้านวจนักขโม (อดทนต่อถ้อยคำ) ด้านคัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา (กล่าวเรื่องล้ำลึกได้) ด้านโน จัฎฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำในสิ่งที่ไม่ดี)อันประกอบ มาบูรณาการกับหลักพุทธธรรม โดยสรุปเป็น ๔ มิติ คือ S = Social ปรับตัวเข้ากับสังคมB = Behavior พฤติกรรมดี เด่น M = Mentalจิตใจสงบเย็น W = Wisdom มีปัญญาพิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลอยู่เสมอ
Article Details
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนผู้แต่ง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป