กระบวนการส่งเสริมการบริโภคอาหารเจตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

Rachit Sittisatsagul

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “กระบวนการส่งเสริมการบริโภคอาหารเจตามหลักพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเจตามหลักพระพุทธศาสนารูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research Design) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และทำการทดลอง (Pre-Experimental Design) เพื่อทดลองชุดฝึกอบรมฯ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่บ้าน จำนวน ๔๐ คน และทำการวิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ  ผลการวิจัยพบว่าหลักการส่งเสริมการบริโภคอาหารเจเป็นการมุ่งเน้นการส่งเสริมบนฐานของ “ความรู้” “คุณธรรม” และ “พฤติกรรม”(CAP) โดยจะมุ่งเน้นการเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเจ (Cognitive Domain), การปลูกฝังคุณธรรมด้านเมตตาและความต้องการบริโภคอาหารเจ (Affective Domain) และการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเจตามหลักพระพุทธศาสนา (Performance)  ด้านของเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ๔ หน่วยการเรียนรู้ และ ๙ กิจกรรมย่อย กล่าวคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ คือ วิชาการอาหารเจ ได้แก่ (๑) กิจกรรมกินให้เป็นโทษ หรือ กินให้เป็นประโยชน์ (๒) กิจกรรมอาหารเจ อาหารใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ จุดประกายธรรมนำอาหารเจ ได้แก่ (๑) กิจกรรมตื่นรู้ ดูใจ (๒) กิจกรรมเสียงเพรียกของผู้ถูกฆ่า (๓) กิจกรรมกินเจเป็นเห็นธรรมเกิด และ (๔) กิจกรรมเปิดกล่องดวงใจไขปัญหาธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ คือ ฝึกหัดอาหารเจ ได้แก่ (๑) กิจกรรมสอนให้ดู รู้โดยทำ และ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เจริญเจ เจริญจิต ได้แก่ (๑) กิจกรรมคืนความสุขให้กับสัตว์มีชีวิต และ (๒) กิจกรรมบริหารจิต เจริญเมตตา โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ได้แก่ เรื่องเล่า, การอภิปราย, การสาธิตและฝึกหัด, การฝึกเจริญเมตตาภาวนาและสร้างกุศล  และ สื่อนำเสนอและการฟังเพลงสื่อธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย