วิเคราะห์หลักจิตนิยามในฐานะมโนสำนึกทางศีลธรรมสากล

Main Article Content

Phrathepsiddhimuni Phrathepsiddhimuni
Phrarajvaravethee Phrarajvaravethee
Phrarajvethee Phrarajvethee
Phrapariyatthada Phrapariyatthada
Chaichan Srihanu Chaichan Srihanu
Ponpitnarong Ponpitnarong

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักจิตนิยามในพระพุทธศาสนาเถรวาท หลักศีลธรรมสากลและข้อจำกัดของศีลธรรมในปัจจุบัน และเพื่อวิเคราะห์จิตนิยามในฐานะมโนสำนึกทางศีลธรรมสากล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า จิตนิยามคือกฏหรือตัวกำหนดของจิตซึ่งมีธรรมชาติเกิด-ดับตลอดเวลา และเป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่ง จิตแบ่งออกเป็น ๓ คือ กุศลจิต อกุศลจิต และอัพยากตจิต ทำหน้าที่ปรุงจิตให้แสดงพฤติกรรมออกมาภายนอกตามตัวปรุงแต่งจิต  หลักศีลธรรมทั่วไปยังติดอยู่ในกรอบของการคิดแบบมีตัวตน แต่จิตยามใช้สติสัมปชัญญะกำหนดรู้สภาวะของจิตที่กำลังดำเนินไปอยู่ทุกขณะจนสามารถจำแนกรู้ตนว่าสภาวะของจิตกำลังอยู่ในภาวะกุศลหรืออกุศล ซึ่งจะสร้างความปกติของกายภาพด้วยกุศล เพราะสติจะยับยั้งไม่ให้จิตถูกปรุงแต่งด้วยอกุศล ยังเปิดให้มีการพัฒนาพฤติกรรม และยังใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำ ซึ่งสามารถแก้ไขข้อจำกัดและความบกพร่องของศีลธรรมทั่วไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย