แนวทางการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่อง ในภาวการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด 19

Main Article Content

รศ.ดร.วชิระ บุณยเนตร
สณิสรณ์ ปานสมุทร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในการประเมินเพื่อระบุความเสี่ยงและการตอบสนองความเสี่ยงในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Samples t-test และ One-Way ANOVA


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในการตรวจสอบเนื้อหาสาระมากกว่าการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุม วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือการตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน และให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ การตรวจสอบความผิดปกติของบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น สำหรับวิธีการประเมินความเสี่ยงที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การอ่านรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการกิจการ และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ การสอบทานว่ากิจการได้ถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อจากผู้ให้สินเชื่อ นอกจากนี้ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดแนวทางการตรวจสอบการดำเนินงานต่อเนื่องที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดแนวทางการตรวจสอบการดำเนินงานต่อเนื่อง ได้แก่ รูปแบบการทำงาน การเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ขนาดของกิจการ การเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีในการวางแผนการตรวจสอบการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประคอง กรรณสูต (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 200 เรื่องวัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบ

สภาวิชาชีพบัญชีใ นพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 315 เรื่องการระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 330 เรื่องวิธีปฏิบัติของผู้สอบบัญชีในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 560 เรื่องเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 570 เรื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง.

Baskan, Tuba Derya (2020). Analyzing the going concern uncertainty during the period of COVID-19 pandemic in terms of independent auditor’s reports. Journal of Social Sciences & Humanities, 4(2), 28-42.

Boonyanet, Wachira (2006). Factors influencing going concern audit report: Questionnaire survey approach. Chulalongkorn Business Review, 28(3), 45 - 65.

Center for Audit Quality (2020). Auditor Reporting COVID-19 Considerations. [Online]. Available: https://www.thecaq.org /auditor-reporting-covid-19-considerations/.

Christopher Arnold (2020). Summary of Covid-19 Audit Considerations. [Online]. Available: https://www.ifac.org/knowledge-gateway/supporting-international-standards/discussion/summary-covid-19-audit-considerations.

Crucean, Andreea Claudia & Hategan, Camelia-Daniela (2021). Effects of the Covid-19 Pandemic Estimated in the Financial Statements and the Auditor's Report. Audit Financiar, 1(1611), 105 – 118.

Dohrer, Bob & Tysiac, Ken. (2020). Going concern tips for auditors during the pandemic. [Online]. Available: https://www.journalofaccountancy.com/news/2020/apr/going-concern-tips-for-auditors-during-coronavirus-pandemic.html

ICAEW (2020). Coronavirus, going concern and the auditor’s report. [Online]. Available: https://www.icaew.com/insights/features/2020/mar-2020/coronavirus-going-concern-and-the-auditors-report

International Accounting Standards Board (IASB, 2018). Conceptual Framework for Financial Reporting. IFRS.

Joshi, Prem Lal (2020). Covid-19 Pandemic and Financial Reporting Issues and Challenges. International Journal of Auditing and Accounting Studies, 2(1), 1-9.

Kelly, Matt (2020). The new pressures for going-concern warnings. [Online]. Available:

https://iaonline.theiia.org/2020/Pages/The-New-Pressures-for-Going-concern-Warnings.aspx.

KPMG (2020). KPMG quick guide on COVID-19. [Online]. Available: https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2020/03/covid-19-financial-reporting-resource-centre.html

Savova, Kameliya (2020). Global Impact of COVID 19 on the Concept of "Going Concern”. The 20th International Scientific Conference Globalization and its Socio-Economic Consequences 2020.

Triani, Ni Nyoman Alit, Satyawan, Made Dudy & Yanthi Merlyana Dwinda. (2017). Determining The Effectiveness of Going Concern Audit Opinion by ISA 570. Asian Journal of Accounting Research, 2(2), 29 – 35.