ผลกระทบของคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต่อความพร้อมในการทำงาน ด้านการบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทย

Main Article Content

ศิรินทิพย์ จ้อยพุดซา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อความพร้อมในการทำงานด้านการบัญชีนิติวิทยาในประเทศไทย โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้งหมด 271 ตัวอย่าง จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยในปี 2561 ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์ในการทำงานสอบบัญชี เพศชาย และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความพร้อมในการทำงานด้านการบัญชีนิติวิทยา ขณะที่ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของการบัญชีนิติวิทยานั้น ไม่พบความสัมพันธ์กับความพร้อมในการทำงานด้านการบัญชีนิติวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2554). โครงการวิจัยสถาบัน: การพัฒนาระบบสมรรถนะเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ม.ป.ท.

คุณสมบัติของนักสืบ. สืบค้นจาก http://www.decha.com/article/section/With_Detective/3817

เจษฎา ปุรินทวรกุล. (2561). ทำไมทัศนคติถึงสำคัญกว่าความฉลาด. สืบค้นจาก http://www.smethailandclub.com/trick-1393-id.html

ชัชฎา เตชะหงษา. (2557). ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีนิติวิทยา ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ กรณีศึกษากรมสอบสวนคดีพิเศษ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คณะบัญชี.

ณิชามล ฟองน้ำ. (2557). การศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลพฤติกรรมผู้นำและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลในการทำงาน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

นพรัตน์ ปานเพ็ชร์. (2547). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำ Forensic Accounting มาพัฒนาวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. (รายงานปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, บัณฑิติทยาลัย.

นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษา สถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.

นิอร องอาจสิทธิกุล. (2548). การบัญชีสืบสวนในทัศนคติของผู้สอบบัญชี: การบัญชีสืบสวนในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ปรัศนีย์ กายพันธ์ และ นธี เหมมันต์. (2557). นักบัญชีไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการจัดการ (WMS JOURNAL OF MANAGEMENT), 3(3), 14-21.

วรัญญา เอื้ออมรไพบูลย์. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ของวิชาชีพนักบัญชีสืบสวนในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2553). มารู้จักกับการบัญชีสืบสวน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 22-28.

ศิวะรักษ์ พินิจารมณ์. (2557). อะไรคือการบัญชีทางนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Accounting).

สมชาย ศุภธาดา. (2541). การบัญชีนิติเวชศาสตร์: ถึงเวลานักบัญชีไม่อาจปฏิเสธ. วารสารบริหารธุรกิจ, 44(3), 41-46.

ภาษาอังกฤษ

Rudyanto, A., and Handojo, I. (2556). MEN AUDITOY, WOMEN AUDITOR AND AUDIT QUALITY. Journal Bisnis dan Akuntansi, 15(2), 103-122.

PricewaterhouseCoopers. (2016). Thailand’s Highlight PwC’s 2016 Global Economic Crime Survey. สืบค้นจาก https://www.pwc.com/th/en/publications/2016/economic-crime-th-2016-keyhighlights.pdf