การออกแบบลายผ้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบลายผ้ามัดหมี่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมครามที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ใช้วิธีการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองตำบลห้องแซงจำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม โดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ลายผ้ามัดหมี่ที่ร่วมกันออกแบบจากอัตลักษณ์ของชุมชนห้องแซงชื่อลาย “ดอกแก้วห้องแซง” เมื่อนำไปตัดเย็บเครื่องแต่งกาย และนำวัสดุเหลือจากตัดเย็บมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ย้อมครามประกอบด้วยกระเป๋าใส่เหรียญ และกระเป๋าถือ ได้สำรวจความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดหมี่ย้อมครามโดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน สำรวจและเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสำรวจความพึงพอใจลายมัดหมี่และผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดหมี่ย้อมครามพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
of ladies’ bags with traditional textile patterns form Ban Pa Tang, Uthai Thani province. Art and Architecture Journal Naresuan University 6(1): 121-133. (in Thai)
Jungvimutipan, K. 2010. The integration of
cultural dimensions into the development of indigo-dyed cotton products by villagers of Kanpalan village. Built Environment Inquiry Journal (1): 61-68. (in Thai)
Ngamsakoo, R. and Phollawan, P. 2017.
Knowledge and product development from Thai Song Dum’s native textiles in Bandon subdistrict, U-thong district, Suphanburi province. Journal of Community Development and Life Quality 6(1): 176-187. (in Thai)
Nopudomphan. K. 2016. Designing fashion
from deconstruction process: case study ikat silk in Pakthongchai district, Nakhonratchasima province. Institute of Culture and Art Journal 17(2): 81-94. (in Thai)
Phakdeesuwan, S. 2010. Pattern design for
Mudmee silk fabrics of Maha Sarakham province in contemporary culture context. Chopayom Journal 21: 17-35. (in Thai)
Prajonsant, S. 2015. Graphic patterns
adopting from architectural decoration of Khmer temples in ikat silk of cloth design. Journal of Community Development and Life Quality 3(3): 331-338. (in Thai)
Sittisomboon, M. 2007. Research
methodology. Faculty of Education. Naresuan University, Phitsanulok. (in Thai)
Vichasilp, K. 2017. Development of indigo
fabric products for new market sectors: a case study of indigo dyed cotton producers in Amphoe Phanna Nikhom, Sakon Nakhon. Khon Kaen Agriculture Journal. 45 (Suppl.1): 1442-1448. (in Thai)
Wisapan, S. 2017. Product design of Ko-yo
hand woven bag using quilt technique. Art and Architecture Journal. Naresuan University 8(2): 1-9. (in Thai)